รอสักครู่...

  • น.
พื้นที่โฆษณา

ข่าวท่องเที่ยว

ข่าวท่องเที่ยว - มิวเซียมสยาม จับมือ เทศบาลนครภูเก็ต เปิดนิทรรศการ Discover Peranakan Phuket


ชอบข่าวนี้?
พื้นที่โฆษณา

มิวเซียมสยาม จับมือ เทศบาลนครภูเก็ต เปิดนิทรรศการ Discover Peranakan Phuket ส่งเสริมการท่องเที่ยวแหล่งเรียนรู้เมืองภูเก็ต ปูทางลุ้นเจ้าภาพ Specialised Expo 2028

ใกล้เข้าถึงโค้งสุดท้าย สำหรับการลุ้นผลเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ Specialised Expo 2028 ในเมืองภูเก็ต มิวเซียมสยาม และ เทศบาลนครภูเก็ต ขอเป็นส่วนหนึ่งร่วมผนึกกำลัง ส่งเสริมและสร้างสรรค์เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงแหล่งเรียนรู้ เปิดนิทรรศการ Discover เพอรานากันภูเก็ต นิทรรศการที่จะชวนไปทำความรู้จักเรื่องราวประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม อัตลักษณ์ของชาวเพอรานากัน เพื่อสร้างโรดแมปเปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยว ทั่วโลก สู่การลุ้นเป็นเจ้าภาพครั้งยิ่งใหญ่ โดยมี นางสาวอรไพลิน ตระกูลปริพนธ์ รองนายกเทศมนตรีนครภูเก็ตและ นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) ร่วมเป็นประธานแถลงข่าวเปิดงาน

ทั้งนี้ เมืองภูเก็ตรุ่งเรื่องด้วยเศรษฐกิจเหมืองแร่ดีบุกมานานหลายศตวรรษ ดีบุกได้นำพาผู้คนและวัฒนธรรมอันหลากหลายมาสู่เมือง กำเนิดกลุ่มคนลูกผสมเป็นที่รู้จักในชื่อ เพอรานากัน หรือ บาบ๋า และสร้างสรรค์วัฒนธรรมใหม่ ที่มีความโดดเด่นในแบบฉบับของตัวเอง เมื่อภูเก็ตเข้าสู่ยุคของการท่องเที่ยววัฒนธรรมเพอรานากันได้รับความสนใจ อีกครั้ง นิทรรศการ Discover Peranakan Phuket ชวนทุกท่านไปค้นหาเรื่องราวของชาวเพอรานากัน ผ่านสิ่งของ และร่องรอยทางวัฒนธรรมที่สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ผ่าน 4 โซน เกิดที่นี่ จุดกำเนิดของชาวเพอรานากันเริ่มต้นขึ้นที่นี่ ในดินแดนคาบสมุทรมลายู ผู้คนจากทั่วสารทิศทั้งจีน แขก ฝรั่ง ล่องเรือมายังดินแดนแห่งนี้ บางส่วนลงหลักปักฐานสร้างครอบครัวกับคนท้องถิ่นเกิดการผสมผสานทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม กลายมาเป็นชาวเพอรานากัน วิถีบาบ๋าค้นหาเรื่องราววิถีชีวิตและความเชื่อที่ซ่อนอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของตัวบ้าน ร้อยเรื่องบาบ๋า ชาวเพอรานากันคือใคร? จีน มลายู ไทย ใครกันแน่? เราสามารถค้นหาเบาะแสได้จากสิ่งของเครื่องใช้รอบตัวและเรื่องราวทางวัฒนธรรมของชาวเพอรานากัน เพอรานากันนิยม เปิดประสบการณ์สัมผัสความเป็นเพอรานากันผ่านการค้นหาชุดที่ชอบและวิธีสวมใส่ที่ใช่พร้อมแชะภาพกลับไปเป็นที่ระลึก

นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) กล่าวถึงการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสู่การต่อยอดและสร้างสรรค์คุณค่าทางเศรษฐกิจกลุ่มวัฒนธรรมเพอรานากัน กระจายตัวอยู่ในเมืองท่าสำคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ มะละกา ปีนัง เมียนมาร์ ตลอดจนภาคใต้ฝั่งอันดามัน ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์กลุ่มชาวจีนอพยพมาภูเก็ต เป็นแรงงานเหมืองแร่ดีบุก เป็นพ่อค้า นายเหมือง เป็นช่างตีเหล็ก ช่างต่อเรือ ประกอบอาชีพที่ถนัดแล้วตั้งถิ่นฐานแต่งงานสร้างครอบครัวกับคนท้องถิ่นให้กำเนิดลูกครึ่งจีน-ท้องถิ่น และเรียกลูกครึ่งทั้งชาย-หญิงว่า “บาบ๋า” ซึ่งมีพื้นฐานวัฒนธรรมจากจีนฮกเกี้ยนผสมวัฒนธรรมไทยถิ่นใต้ และมีความสัมพันธ์กับชาวเพอรานากันในดินแดนคาบสมุทรมลายู ผ่านวัฒนธรรมการกิน การใช้ และการอยู่อาศัยที่เชื่อมโยงกัน โดยทางสถาบันฯ และเทศบาลนครภูเก็ต ได้จัดทำนิทรรศการ Discover Peranakan Phuket นำเสนอความหลายหลายของวัฒนธรรมเพอรานากันให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าใจเมืองภูเก็ตมากกว่าที่เห็น และจากการที่ประเทศไทยร่วมกับ 4 ประเทศอาเซียน (มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย และสิงคโปร์) เสนอชุดเคบายา (Kebaya) ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก (UNESCO) นั้น นอกจากคุณค่าความสวยงามแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมระหว่างผู้เข้ามาและคนในท้องถิ่นดั้งเดิม อันแสดงถึงการอยู่ร่วมกันในความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนในภูมิภาคนี้ ซึ่งความเข้มแข็งของวัฒนธรรมร่วม จะนำไปสู่การต่อยอดและสร้างสรรค์คุณค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน นายราเมศกล่าว

ด้านนางสาวอรไพลิน ตระกูลปริพนธ์ รองนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ตมีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยว ให้เมืองภูเก็ตเป็นที่น่าค้นหา Discover Phuket ด้วยพื้นที่ในเขตเทศบาลมีต้นทุนด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่หลากหลาย เพอรานากัน หรือที่ภูเก็ตนิยมเรียกว่า บาบ๋า มีพื้นวัฒนธรรมมาจากชาวจีนฮกเกี้ยนผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยถิ่นใต้ และเป็นส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรมเพอรานากัน ในภูมิภาคอาเซียน มีจุดเด่นคือการผสมผสานทางวัฒนธรรมอันหลากหลายจนกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่มีความเฉพาะตัว ซึ่งแสดงออกผ่าน ภาษา อาหาร ประเพณี สิ่งของเครื่องใช้และวิถีชีวิต ที่น่าค้นหาผ่านชุดนิทรรศการ นอกจากจะกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมแล้ว อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเหล่านี้ยังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเมืองและในอนาคตวัฒนธรรมบาบ๋า เพอรานากันจะกลายเป็น Soft Power อย่างหนึ่งของไทย ยังเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ร่วมมือด้านวัฒนธรรมและความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย เทศบาลนครภูเก็ต ตระหนักและเห็นคุณค่าของประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมที่เกิดขึ้น ณ นครภูเก็ตแห่งนี้ และพร้อมที่จะต่อยอดผ่านงานเทศกาล กิจกรรม เพื่อสร้างการรับรู้ไปสู่ประชาชน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเติบโตของเมืองอย่างยั่งยืน ผลักดันให้เมืองภูเก็ตเป็นหมุดหมายอันดับต้นของนักท่องเที่ยวทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง” นางสาวอรไพลิน กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ มิวเซียมภูเก็ต เปิดโอกาสให้ประชาชนชาวภูเก็ตและผู้ที่สนใจ สามารถเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ณ มิวเซียมภูเก็ต โดยเปิดให้บริการวันอังคาร - วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์) เวลา 09.00 16.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 094-807-7873


"ข่าวประชาสัมพันธ์ ทันทุกกระแส" กับ @PRNewsThailand

เพิ่มเพื่อน
พื้นที่โฆษณา

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่โฆษณา
พื้นที่โฆษณา