ข่าวกีฬา - กรีนฟิลด์ส นำเสนอสนามฮอกกี้หญ้าเทียมแบบแห้ง (ไม่ต้องรดน้ำ)
กรีนฟิลด์ส (GreenFields) บริษัทในเครือ เทนคาต้า (TenCate) ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์และผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมสนามหญ้าเทียมสำหรับกีฬาชนิดต่าง ๆ ขอเสนอ "เพียว อีพี" (Pure EP) สนามฮอกกี้หญ้าเทียมที่ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ ซึ่งจะปฏิวัติโลกของกีฬาฮอกกี้ไปสู่ความยั่งยืนยิ่งขึ้น และจะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้มีการเล่นกีฬาฮอกกี้อย่างแพร่หลายมากขึ้นทั่วโลก
นักกีฬาฮอกกี้ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สนามฮอกกี้หญ้าเทียมแบบแห้ง (ไม่ต้องรดน้ำ) มีคุณภาพเทียบเท่ากับสนามหญ้าเทียมแบบรดน้ำ แต่ช่วยประหยัดน้ำ (ดื่ม) ได้หลายล้านลิตรต่อปี นอกจากนี้ นวัตกรรมซึ่งใช้เวลาสร้างสรรค์นานถึง 4 ปี ยังทำให้สามารถเล่นฮอกกี้ระดับมืออาชีพได้ในประเทศที่ทรัพยากรน้ำมีอยู่อย่างจำกัด
สโมสรฮอกกี้ MHC Weesp คือเจ้าของสนามฮอกกี้หญ้าเทียมแบบแห้ง (ไม่ต้องรดน้ำ) แห่งแรกของโลก ซึ่งได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฮอกกี้นานาชาติ (International Hockey Federation หรือ FIH) ทั้งนี้ หลังจบการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 ที่กรุงปารีส สหพันธ์ฮอกกี้นานาชาติตั้งใจว่าจะใช้สนามหญ้าเทียมแบบไม่ต้องรดน้ำและไม่ใช้วัสดุเติม (Infill) ในการแข่งขันระดับนานาชาติ
คุณวินเซนต์ โฮมริกฮาวเซน (Vincent Homrighausen) กรรมการผู้จัดการของกรีนฟิลด์ส และหัวหน้าประจำภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกาของเทนคาต้า กล่าวว่า "ในปี 2018 สหพันธ์ฮอกกี้นานาชาติได้ประกาศเป้าหมายด้านความยั่งยืนเพื่อเริ่มเปลี่ยนผ่านไปสู่สนามฮอกกี้แบบไม่ต้องรดน้ำหลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปารีส ทั้งนี้ สนามหญ้าเทียมแบบรดน้ำในเนเธอร์แลนด์ต้องใช้น้ำ 3.5 ถึง 5 ล้านลิตรต่อปี และเนื่องจากการขาดแคลนน้ำที่เพิ่มมากขึ้นและการขาดโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเล่นกีฬาประเภทนี้ จึงถึงเวลาแล้วสำหรับการเปลี่ยนแปลง"
"กรีนฟิลด์สใส่ใจเรื่องความยั่งยืน ซึ่งหลักปรัชญานี้สอดคล้องอย่างลงตัวกับความมุ่งมั่นของสหพันธ์ฮอกกี้นานาชาติในการทำให้ฮอกกี้เป็นกีฬาที่ยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้น เพียว อีพี จะช่วยให้เข้าถึงกีฬาฮอกกี้ได้อย่างเท่าเทียมกันทั่วโลก ทั้งนี้ เนื่องจากขาดแคลนน้ำ สนามหญ้าเทียมแบบรดน้ำจึงพบเห็นได้ยากในหลายประเทศ เช่น อินเดียและปากีสถาน เพราะประเทศเหล่านี้ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับสนามหญ้าเทียมแบบรดน้ำแบบที่เรามีในเนเธอร์แลนด์"
คุณฟลอริส ยาน โบเวอลังเดอร์ (Floris Jan Bovelander) อดีตนักกีฬาฮอกกี้ทีมชาติเนเธอร์แลนด์ผู้ลงสนามรับใช้ชาติถึง 241 นัด แสดงความเห็นด้วย เขาและมูลนิธิโบเวอลังเดอร์ (Bovelander Foundation) ต้องการให้เด็กด้อยโอกาสในประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย ได้มีโอกาสเล่นกีฬา โดยในอินเดียนั้น เขาได้เห็นกับตาตัวเองว่าสนามหญ้าเทียมแบบรดน้ำต้อง "ใช้น้ำประปาหมดทั้งหมู่บ้าน"
คุณโบเวอลังเดอร์ อดีตดาวยิงลูกโทษจากมุมสมัยเล่นให้กับทีม Bloemendaal และทีมชาติเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า "บางประเทศไม่สามารถจ่ายน้ำอย่างต่อเนื่องได้ ดังนั้น สนามใหม่นี้จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศที่เล่นฮอกกี้ทั่วโลกได้อย่างมีนัยสำคัญ ด้วยการสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นพัฒนาการที่ยอดเยี่ยมสำหรับกีฬาฮอกกี้ ผมได้มีโอกาสลองเล่นในสนามใหม่ที่สโมสร MHC Weesp และรู้สึกประทับใจมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความเร็ว ซึ่งเทียบได้กับสนามหญ้าเทียมแบบรดน้ำเลยทีเดียว"
คุณโคลิน ยัง (Colin Young) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาของเทนคาต้า กล่าวว่า "กระบวนการพัฒนา เพียว อีพี ใช้เวลาถึง 4 ปี ข้อกังวลหลักของเราคือการสร้างสรรค์โซลูชันที่ยั่งยืนมากขึ้นโดยไม่ลดทอนความเร็ว เทคนิค และความน่าหลงใหลของกีฬาฮอกกี้ เราทดสอบสนามหญ้าเทียมใหม่อย่างเข้มงวด และตั้งใจฟังความคิดเห็นของนักกีฬาที่เข้าร่วมการทดสอบ ซึ่งทุกคนต่างพึงพอใจมากกับประสิทธิภาพของเพียว อีพี"
คุณวินเซนต์ โฮมริกฮาวเซน เล็งเห็นถึงความสนใจอย่างมากที่มีต่อสนามหญ้าเทียมแบบแห้ง (ไม่ต้องรดน้ำ) ซึ่งพื้นผิวของสนามไม่ได้ใช้ใบหญ้าแบบมาตรฐานทั่วไป แต่ทำมาจากเส้นใยหญ้าเทียมแบบลูป (Loop) ทำให้ได้ความเร็วระดับสูงเทียบเท่ากับสนามหญ้าเทียมแบบรดน้ำ
คุณจอน ไวแอตต์ (Jon Wyatt) ผู้อำนวยการฝ่ายกีฬาและความยั่งยืนของสหพันธ์ฮอกกี้นานาชาติ กล่าวว่า
"ในขณะที่กีฬาฮอกกี้กำลังเปลี่ยนมาเล่นบนสนามหญ้าเทียมแบบไม่ต้องรดน้ำ สหพันธ์ฮอกกี้นานาชาติก็ยินดีต้อนรับนวัตกรรมที่นำเสนอโดยสมาชิกที่เข้าร่วมโปรแกรมรับรองคุณภาพของเรา ซึ่งจะช่วยให้นักกีฬาของเรายังคงสามารถแสดงทักษะ ความเร็ว และพละกำลังได้เช่นเดิม นอกจากนี้ เรายังยินดีเป็นอย่างยิ่งกับการมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งของชุมชนฮอกกี้ทั่วโลก ในขณะที่เราก้าวไปสู่การเป็นกีฬาที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับค่านิยมของเราในการมีส่วนช่วยสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น"
คุณจอน ไวแอตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายกีฬาและความยั่งยืนของสหพันธ์ฮอกกี้นานาชาติ กล่าวว่า (คำต่อคำในภาษาอังกฤษ)
"As hockey transitions to be played on turfs that no longer need to be watered, FIH welcomes the innovations being shown by its Quality Programme members that will enable our athletes to still showcase their skills, speed, and power. We are also very pleased with the deep engagement shown by the global hockey community as we move to become an even more sustainable sport, in line with our values of contributing to a more environmentally friendly society."
สำหรับรูปภาพและวิดีโอเพิ่มเติม กรุณาไปที่ https://www.greenfields.eu/GreenFieldsPureEPpress
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2104072/GreenFields.jpg