รอสักครู่...

  • น.
พื้นที่โฆษณา

ข่าวสัมมนา

ข่าวสัมมนา - สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) มหาวิทยาลัยศิลปากร พัฒนารูปแบบสินค้าและบริการ ต่อยอดทุนวัฒนธรรม สู่งานดีไซน์ร่วมสมัย ของจังหวัดลพบุรี


ชอบข่าวนี้?
พื้นที่โฆษณา

วันพุธที่ 15 มีนาคม 2566 ได้รับเกียรติจาก นายปรัชญา เปปะตัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุม โรงแรมโอทู จังหวัดลพบุรี โดยมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตัวแทนผู้ประกอบการในจังหวัดลพบุรี เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้อย่างพร้อมเพรียงกัน

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศิลปากร ดำเนินโครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปในแต่ละจังหวัด ได้มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม ทั้งยังสามารถนำเอาองค์ความรู้ทางด้านศิลปะร่วมสมัยมาใช้สร้างสรรค์ผลงานการออกแบบที่แสดงถึง อัตลักษณ์ท้องถิ่น เกิดเป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนารูปแบบสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม ด้วยการใช้องค์ความรู้ด้านศิลปะร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จึงได้ดำเนินโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง ใน 3 จังหวัด ได้แก่ นครนายก ลพบุรี และนครปฐม

การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมสมอง เฟ้นหาอัตลักษณ์และจุดเด่นของแต่ละพื้นที่ใน จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ทีมที่ปรึกษา นักออกแบบ กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตัวแทนผู้ประกอบการ สร้างสรรค์ผลงานการออกแบบสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม ภายใต้แนวคิดของอัตลักษณ์ “ร่วม สมัย” มุ่งเน้นค้นหาตัวตนของแต่ละชุมชนจากมิติต่างๆ ทางวัฒนธรรม เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ออกแบบ พัฒนาสินค้าในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ตราสินค้า โลโก้ โทนสี ลวดลาย การออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบตกแต่งภายใน ฯลฯ พร้อมทั้งนำความรู้ทางด้านศิลปะร่วมสมัยออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการทางวัฒนธรรม ผสมผสานความหลากหลายของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิมของจังหวัดมาต่อยอดทางความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้นำไปใช้ขยายผลแก่ชุมชน ให้มีความเข้าใจในการนำทุนทางวัฒนธรรมไปปรับใช้อย่างสร้างสรรค์ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศอย่างยั่งยืน


"ข่าวประชาสัมพันธ์ ทันทุกกระแส" กับ @PRNewsThailand

เพิ่มเพื่อน
พื้นที่โฆษณา

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่โฆษณา
พื้นที่โฆษณา