ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - Xinhua Silk Road: เผยแพร่รายงานประเมินผลบริการสายด่วนเมืองทั่วโลกและประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันพุธ
ปักกิ่ง, 18 ธันวาคม 2567 /PRNewswire/ -- รายงานการประเมินผลบริการสายด่วนเมืองทั่วโลกและประสิทธิภาพการบริหารจัดการ (ปี 2567) ได้ถูกเผยแพร่ในการประชุมปักกิ่ง ฟอรัม ว่าด้วยการตอบสนองข้อร้องเรียนของประชาชนอย่างรวดเร็ว (Beijing Forum on Swift Response to Public Complaints) ปี 2567 ซึ่งจัดขึ้นในกรุงปักกิ่งเมื่อวันพุธที่ผ่านมา
Photo shows the Evaluation Report on Worldwide City Hotline Services and Governance Effectiveness (2024) published at the 2024 Beijing Forum on Swift Response to Public Complaints held in Beijing, December 18, 2024.
รายงานดังกล่าวได้ประเมินเมืองตัวแทนต่าง ๆ จำนวน 20 เมืองทั่วโลกอย่างเป็นระบบ และให้ข้อสรุปประสบการณ์การดำเนินงานและรูปแบบของบริการสายด่วนของเมืองทั่วโลกอย่างครอบคลุมจากมุมมองที่เป็นสากล
เหล่าผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเชื่อว่า รายงานฉบับนี้แสดงการวิเคราะห์เชิงระบบเกี่ยวกับแนวโน้มและเส้นทางการพัฒนาสายด่วนเมืองทั่วโลก และริเริ่มสร้างกรอบการประเมินที่เน้นด้านการบริหารจัดการเพื่อให้ผลการประเมินประสิทธิภาพของการบริการและการบริหารจัดการแบบรอบด้านอย่างเป็นระบบ
ทั้งนี้ หลังจากการคัดเลือกเมืองต่าง ๆ กว่า 200 แห่งในขั้นต้น รายงานฉบับนี้ได้เลือกเมืองตัวแทน 20 เมืองเพื่อใช้ในการประเมิน โดยพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น อิทธิพลระดับโลก ขนาดของประชากร และความเป็นตัวแทนในระดับภูมิภาค เป็นต้น
ในด้านการบริหารจัดการ รายงานฉบับนี้มุ่งเน้นไปที่ตัวชี้วัดหลัก 4 ประการ ได้แก่ การบริหารจัดการกระบวนการ การบริหารจัดการร่วม การบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ และการบริหารจัดการเพื่อตอบสนอง พร้อมด้วยตัวชี้วัดรอง 10 รายการ และตัวชี้วัดตติยภูมิ 24 รายการ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริการสายด่วนของเมืองอย่างสายด่วน 12345 ของกรุงปักกิ่ง ได้ผสานรวมเข้ากับการบริหารจัดการเมืองในหลากหลายสาขาและสถานการณ์โดยสมบูรณ์ นับตั้งแต่ปี 2562 การผลักดันเชิงนวัตกรรมของปักกิ่งเพื่อให้สามารถตอบสนองข้อร้องเรียนของประชาชนอย่างรวดเร็วได้สร้างรูปแบบการบริหารจัดการที่มีลักษณะเฉพาะตัว ได้แก่ การตอบกลับอย่างครบถ้วนครอบคลุม การให้บริการที่หลากหลาย การบริหารจัดการแบบวงปิดโดยติดตามและตรวจสอบตลอดทุกขั้นตอน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในวงกว้าง การริเริ่มดังกล่าวช่วยบุกเบิกเส้นทางที่เป็นเอกลักษณ์ของจีนสู่การบริหารจัดการเมืองสมัยใหม่ พร้อมทั้งเสนอ "โมเดลปักกิ่ง" และ "โซลูชันของจีน" ให้กับกระแสการบริหารจัดการเมืองผ่านสายด่วนทั่วโลก
ขณะเดียวกัน สายด่วนที่เป็นบริการของรัฐบาลทั่วโลกแสดงให้เห็นการพัฒนาในเส้นทางที่หลากหลาย ในเมืองต่าง ๆ อย่างนิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก และโตรอนโต สายด่วน 311 ได้รวมบริการของเทศบาลเข้าสู่แพลตฟอร์มเดียวแบบรวมศูนย์ จึงช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้แบบครบวงจรจากจุดเดียว ลดแรงกดดันให้บริการสายด่วนฉุกเฉิน 911 และปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการให้ดีขึ้นได้
ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นพ้องว่าการพัฒนานวัตกรรมของบริการสายด่วนในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกเกิดขึ้นในเวลาที่เหมาะสมแล้ว แต่ก็ยังมีความท้าทายที่ต้องเผชิญขณะที่ก้าวสู่การเติบโตระยะใหม่ ปัญหาอย่างเช่น การกำหนดบทบาทที่ไม่ชัดเจน การใช้ประโยชน์จากมูลค่าของข้อมูลที่ยังไม่เพียงพอ ความสับสนเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ และความจำเป็นในการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้ดีขึ้น ได้กลายเป็นความท้าทายที่สำคัญ รายงานฉบับนี้ตอบสนองต่อความท้าทายดังกล่าวในมุมมองระดับโลก พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อจัดการกับประเด็นที่เร่งด่วนเหล่านี้
ลิงก์ข่าวต้นฉบับ: https://en.imsilkroad.com/p/343618.html