รอสักครู่...

  • น.

พีอาร์ นิวส์ไวร์

ไทย พีอาร์ นิวส์ไวร์ x พีอาร์ นิวส์ไวร์

ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - CGTN: ท่าเรือชางใคกับบทบาทในการเสริมสร้างความร่วมมือกับเอเชียแปซิฟิก


ชอบข่าวนี้?

ปักกิ่ง, 17 พ.ย. 2567 /PRNewswire/ -- นับตั้งแต่การเทียบท่าของเรือลำแรกที่ท่าเรือชางใค (Chancay Port) จนถึงพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ท่าเรือแห่งนี้ได้ดึงดูดความสนใจจากทั่วโลกในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกที่เปิดกว้างและครอบคลุมมากขึ้น

ท่าเรือนี้เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างเปรูกับจีนภายใต้โครงการสายแถบและเส้นทาง (BRI) โดยจะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งทางทะเลจากเปรูไปจีนเหลือเพียง 23 วัน และลดต้นทุนโลจิสติกส์ลงอย่างน้อย 20% คาดว่าจะสร้างรายได้ให้เปรูปีละ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และสร้างงานโดยตรงกว่า 8,000 ตำแหน่ง ท่าเรือนี้สามารถรองรับเรือคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่พิเศษที่บรรทุกคอนเทนเนอร์ขนาดยี่สิบฟุต (TEU) ได้ถึง 18,000 ตู้ โดยมีขีดความสามารถในการรองรับสินค้าผ่านท่า 1 ล้าน TEU ในระยะใกล้ และ 1.5 ล้าน TEU ในระยะยาว ส่งผลให้กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญในการค้าระหว่างลาตินอเมริกากับเอเชีย

ประธานาธิบดี Xi Jinping ของจีน กล่าวผ่านวิดีโอลิงก์ในพิธีเปิดท่าเรือโดยอ้างถึงการเชื่อมต่อระหว่างชางใคกับเซี่ยงไฮ้ว่า "สิ่งที่เรากำลังเห็นไม่ใช่แค่การหยั่งรากและเบ่งบานของโครงการสายแถบและเส้นทางในเปรูเท่านั้น แต่ยังเป็นการกำเนิดประตูการค้าแห่งใหม่ที่เชื่อมโยงทั้งทางบกและทางทะเล เชื่อมเอเชียและลาตินอเมริกาเข้าด้วยกัน"

เจ้าหน้าที่เปรู: 'โอกาสในการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ' มาถึงเปรูแล้ว

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเปรูและประชาชนทั่วไปต่างแสดงความหวังที่จะได้รับประโยชน์จากท่าเรืออัจฉริยะและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแห่งแรกในอเมริกาใต้

Gustavo Adrianzen นายกรัฐมนตรีเปรู เปิดเผยว่า ความร่วมมือระหว่างจีนกับเปรู รวมถึงโครงการท่าเรือชางใคและด้านอื่น ๆ จะเข้ามาเพิ่มโอกาสในการจ้างงาน และผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับเปรู ส่งผลให้มาตรฐานการครองชีพของประชาชนดีขึ้น

Jose Tam ประธานหอการค้าจีน-เปรู ได้พูดคุยกับ CGTN เกี่ยวกับความสำคัญของท่าเรือชางใค โดยกล่าวว่าท่าเรือแห่งนี้จะเป็น "เครื่องจักร" ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่น

Juan Carlos Capunay อดีตผู้อำนวยการบริหารสำนักเลขาธิการเอเปคและอดีตเอกอัครราชทูตเปรูประจำจีน ยังระบุว่าท่าเรือแห่งนี้จะมีบทบาทสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีและส่งเสริมความร่วมมือเชิงปฏิบัติระหว่างจีนกับเปรู

Cielo Augusto ผู้ประกอบการจากชางใค เปิดเผยว่า เขาหวังที่จะสร้างธุรกิจในระยะแรก พร้อมชี้ว่าอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น งานบริการ จะได้รับการกระตุ้นด้วย เนื่องจากจะมีผู้คนจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก

Karla Santuyomarca ประชาชนชาวเปรู กล่าวกับ CGTN ว่า "ท่าเรือแห่งนี้จะช่วยประหยัดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพ และนำโอกาสใหม่ ๆ มาสู่เปรู"

จากการสำรวจความคิดเห็นชาวเปรูโดย CGTN พบว่า 78.3% ของผู้ตอบแบบสอบถามสนับสนุนให้เปรูเข้าร่วมโครงการสายแถบและเส้นทาง ซึ่งรวมถึงท่าเรือชางใค นอกจากนี้ 93.6% ของผู้ตอบแบบสอบถามยังสนับสนุนให้เพิ่มความร่วมมือเชิงปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ระหว่างจีน เปรู และประเทศอื่น ๆ ในลาตินอเมริกาด้วย

ร่วมมือกับเอเชียแปซิฟิกอย่างเปิดกว้างและเชื่อมโยง

ท่าเรือชางใคได้จัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยมีความมุ่งหวังที่จะผนวกรวมภูมิภาคลาตินอเมริกาทั้งหมดเข้ากับกรอบเศรษฐกิจที่มีพลวัตของเอเชียแปซิฟิก ช่วยยกระดับการเชื่อมต่อทั้งภายในและภายนอกทวีปได้เป็นอย่างมาก

Elmer Schialer Salcedo รัฐมนตรีต่างประเทศเปรู กล่าวว่า "มหาสมุทรแปซิฟิกไม่ได้แยกเราออกจากกัน แต่เชื่อมเราเข้าด้วยกัน" พร้อมเสริมว่าท่าเรือชางใคจะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระหว่างอเมริกาใต้กับเอเชียลงครึ่งหนึ่ง

Carlos Aquino Aquino Rodriguez ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐกิจเอเชียแห่งมหาวิทยาลัย San Marcos National University เปิดเผยว่า ท่าเรือแห่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการเชื่อมต่อกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อีกทั้งยังสามารถส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ซื้อวัตถุดิบ ผู้จัดหาสินค้าผลิตสำเร็จ และนักลงทุนด้วย

จากการสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกของ CGTN เกี่ยวกับความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิก พบว่า 93.7% ของผู้ตอบแบบสอบถามเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในภูมิภาคร่วมกันสร้างฉันทมติและสร้างประชาคมเอเชียแปซิฟิกที่มีอนาคตร่วมกัน โดยเน้นความเปิดกว้างและการมีส่วนร่วม การเติบโตด้วยนวัตกรรม การเชื่อมต่อ และความร่วมมือที่ให้ประโยชน์ร่วมกัน

https://news.cgtn.com/news/2024-11-17/How-does-Chancay-Port-light-up-Asia-Pacific-cooperation--1yAAAYcaP28/p.html


ที่มา : ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - CGTN: ท่าเรือชางใคกับบทบาทในการเสริมสร้างความร่วมมือกับเอเชียแปซิฟิก https://www.prnasia.com/asia-story/archive/4558894_TH58894_10

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านข่าวของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ ไทย พีอาร์ นิวส์ไวร์

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่โฆษณา