ข่าวไอที - หัวเว่ยระบุ 4 ทิศทางการพัฒนาเครือข่ายนำแสงล้วนสีเขียว ปลดล็อกประสบการณ์ระดับกิกะบิตและก้าวสู่ F5.5G
ในงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ประจำปี 2566 (Mobile World Congress หรือ MWC 2023) องค์กรที่ปรึกษาชั้นนำในยุโรปอย่าง ไอเดท (IDATE) ได้จัดการประชุมเครือข่ายนำแสงล้วนสีเขียว (Green All-optical Network Forum) ซึ่งผู้เข้าร่วมทุกฝ่ายได้สนับสนุนการเร่งสร้างเครือข่ายระดับกิกะบิต ในโอกาสนี้ คุณริชาร์ด จิน (Richard Jin) ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ธุรกิจนำแสงของหัวเว่ย (Huawei Optical Business Product Line) ได้แสดงวิสัยทัศน์ "กิกะสีเขียว" (Green Giga) และระบุ 4 ทิศทางการพัฒนา (G-I-G-A) เครือข่ายนำแสงล้วนกิกะบิตสีเขียว เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายกิกะบิตสีเขียวและสนับสนุนวิวัฒนาการเครือข่ายแห่งอนาคตสู่ 10 กิกะบิต (10G) เพื่อก้าวสู่ F5.5G
บรอดแบนด์กิกะบิตมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั่วโลก ขณะที่ความนิยมของการใช้งานรูปแบบต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น 8K, IoT, VR และ AR จะทำให้แบนด์วิดท์การส่งผ่านข้อมูลและการเชื่อมต่อเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ด้วยแนวโน้มดังกล่าว หัวเว่ยจึงแจกแจงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับเครือข่ายกิกะบิตสีเขียว ได้แก่ การลดต้นทุนต่อบิตของการก่อสร้าง การบำรุงรักษา และการดำเนินการ ให้เหลือหนึ่งในห้าของที่เป็นอยู่ในปัจจุบันโดยที่ไม่เพิ่มการใช้พลังงาน พร้อมกันนี้ คุณริชาร์ด จิน ยังได้เสนอ 4 ทิศทางสำหรับการเสริมสร้างสมรรถนะเครือข่าย ได้แก่ สมรรถนะมหาศาล (Giant capacity), ความอัจฉริยะเพื่อทุกคน (Intelligence for all), รับประกันประสบการณ์ (Guaranteed experience) และสถาปัตยกรรมเรียบง่าย (Architecture simplified) ซึ่งรวมกันเป็น G-I-G-A โดยเครือข่ายอ็อปติกซ์ (OptiX) อัจฉริยะสีเขียวของหัวเว่ยเอื้อให้ผู้ดำเนินการเครือข่ายทั่วโลกสามารถอัปเกรดเครือข่ายตามทิศทาง G-I-G-A นี้ได้ ด้วยการสร้างเครือข่ายนำแสงล้วนกิกะบิตสีเขียวเพื่อมอบประสบการณ์กิกะบิตคุณภาพสูงให้แก่ลูกค้าและสนับสนุนพัฒนาการของเครือข่ายสู่ F5.5G
แบนด์วิดท์สูงเป็นพิเศษ: เทคโนโลยีสุดล้ำอย่าง 400 กิกะบิต (400G), การเชื่อมต่อนำแสงแบบข้าม (OXC), เครือข่ายส่งข้อมูลด้วยแสงระดับมหานคร (metro OTN), เครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ 10 กิกะบิต (10G PON) และเครือข่ายผ่านใยแก้วถึงห้องพัก (FTTR) จะต้องถูกบูรณาการในเครือข่ายกิกะบิตจากครือข่ายแกนหลักไปถึงบ้านเรือน เพื่อสร้างเครือข่ายนำแสงล้วนที่ให้การเชื่อมต่อ 400 กิกะบิตแก่เครือข่ายแกนหลัก (backbone network), 100 กิกะบิตแก่เครือข่ายมหานคร (metro network), 10 กิกะบิตแก่เครือข่ายย่อย (access network) และ 1 กิกะบิตแก่ห้องแต่ละห้องในบ้านเรือน ซึ่งช่วยขจัดปัญหาคอขวดของสมรรถนะโหนด (node) สมรรถนะเลเยอร์เครือข่าย (network layer) และสมรรถนะเครือข่ายตลอดทั้งวงจร โดยสอดรับการความต้องการแบนด์วิดท์ พร้อมทั้งช่วยเพิ่มรายรับของผู้ดำเนินการเครือข่ายอีกด้วย
ประสบการณ์เชิงกำหนด: หัวเว่ย เอฟทีทีอาร์ อ็อปติกซ์สตาร์ เอฟ30 (Huawei FTTR OptiXstar F30) ช่วยขยายการเชื่อมต่อใยแก้วนำแสงในบ้านไปสู่ห้องแต่ละห้อง สถาปัตยกรรมเครือข่ายบริเวณกว้าง C-WAN ให้สัญญาณไวไฟ 2000 เมกะบิตต่อวินาทีครอบคลุมทั่วทั้งบ้านด้วยบริการโรมมิ่งที่ราบรื่น เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานในบ้านที่ยอดเยี่ยม ขณะที่หัวเว่ย อ็อปติกซ์ แอลป์ส-ดับบลิวดีเอ็ม (Huawei OptiX Alps-WDM) ย้ายเครือข่ายส่งข้อมูลด้วยแสง (OTN) จากโหนดรวมไปสู่ที่ตั้งศูนย์กลาง (CO) เพื่อสร้างเครือข่ายนำแสงล้วนครบวงจรด้วยประสบการณ์สัญญาณเครือข่ายชั้นเลิศ
สถาปัตยกรรมเรียบง่าย: สถาปัตยกรรมนำแสงล้วนที่เรียบง่ายให้การเข้าถึงที่ครบวงจร (one-stop access) และการเชื่อมต่อแบบส่งสัญญาณสเต็ปเดียว (one-hop connection) โดยสำหรับการเข้าถึงที่ครบวงจรนั้น โซลูชันซีโอ+แอร์พีโอเอ็น (CO+AirPON) ของหัวเว่ย นำสมรรถนะเครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ 10 กิกะบิตไปสู่บริเวณที่ตั้งเสาสัญญาณ บริเวณที่ตั้งเสาถนน และอาคาร โดยบูรณาการหลายบริเวณที่ตั้งเข้าด้วยกันด้วยนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการที่เรียบง่าย ด้วยวิธีนี้ ทุกบริการประเภทธุรกิจไปยังมนุษย์ (B2H) และระหว่างธุรกิจ (B2B) สามารถเข้าถึงได้ผ่านที่ตั้งเดียวและเครือข่ายเดียว จึงช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานได้ถึง 60% และสำหรับการเชื่อมต่อแบบส่งสัญญาณสเต็ปเดียวนั้น หัวเว่ยได้บูรณาการเครือข่ายแกนหลักแบบทรีดี-เมช (3D-mesh) เข้ากับโซลูชันแอลป์ส-ดับบลิวดีเอ็ม เพื่อให้เครือข่ายมหานครสามารถเตรียมบริการนำแสงล้วนได้จากคลาวด์สู่ผู้ใช้ จึงช่วยลดต้นทุนการก่อสร้าง ลดผลกระทบ และลดการใช้พลังงาน
ความอัจฉริยะครบทุกมิติ: เพื่อยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้ เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาและการดำเนินการ และลดการใช้พลังงาน หัวเว่ยได้เปิดตัว 3 โซลูชันเพื่อเอื้อให้เกิดความอัจฉริยะในทุกมิติ ประกอบด้วย โซลูชันพรีเมียม บรอดแบนด์ ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลประสบการณ์เพื่อดำเนินการเชิงรุกในการตรวจจับข้อบกพร่องและปรับปรุงประสิทธิภาพทั้งหมดอย่างทันท่วงที โซลูชันการทำให้เครือข่ายเคเบิลนำแสงเป็นดิจิทัล ซึ่งตรวจจับเคเบิลนำแสงและวิเคราะห์ข้อมูลแบบรวมศูนย์ ทำให้สามารถแสดงภาพเครือข่ายเคเบิลนำแสงและบริหารจัดการได้ และโซลูชันการบำรุงรักษาและการดำเนินการสีเขียวอัจฉริยะ ซึ่งปรับการใช้พลังงานอย่างมีพลวัตโดยอิงตามบอร์ด การใช้งานพอร์ต และทราฟิกการใช้งาน
คุณริชาร์ด จิน กล่าวว่า "ด้วยวิสัยทัศน์ของกิกะบิตสีเขียวและทิศทางการพัฒนา G-I-G-A หัวเว่ยจะพัฒนานวัตกรรมต่อไปเพื่อสนับสนุนผู้ดำเนินการเครือข่ายในการสร้างเครือข่ายนำแสงล้วนกิกะบิตสีเขียวที่มีการพัฒนาบริการพร้อมรองรับอนาคตและมีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ"
งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ประจำปี 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 2 มีนาคม ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน โดยหัวเว่ยจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่บูธหมายเลข 1H50 ณ ฟิรา แกรน เวีย ฮอลล์ 1 (Fira Gran Via Hall 1) หัวเว่ยและผู้ดำเนินการเครือข่ายระดับโลก ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิดเห็น ได้ร่วมกันเจาะลึกประเด็นต่าง ๆ เช่น ความสำเร็จของธุรกิจ 5G, โอกาสของ 5.5G, การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, การพลิกโฉมสู่ดิจิทัล และวิสัยทัศน์ของเราในการใช้แผนแม่บททางธุรกิจไกด์ (GUIDE) เพื่อสานต่อความสำเร็จของ 5G และวางรากฐานสำหรับ 5.5G เพื่อความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://carrier.huawei.com/en/events/mwc2023
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2013063/During_MWC_2023_Huawei_proposed_vision_Green_Giga_Green_All_Optical.jpg
คำบรรยายภาพ - ไอเดทจัดการประชุมเครือข่ายนำแสงล้วนสีเขียว
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2013064/Richard_Jin_delivering_keynote_speech.jpg
คำบรรยายภาพ - คุณริชาร์ด จิน กล่าวสุนทรพจน์หลัก