ข่าวสุขภาพ - เมดเอลฉลองวันประสาทหูเทียมโลกปี 2566 - กว่า 45 ปีของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เพิ่มการได้ยินและยกระดับคุณภาพชีวิต
เมดเอล เมดดิคัล อิเล็คโทรนิกส์ (MED-EL Medical Electronics) ผู้นำด้านการผลิตประสาทหูเทียม ขอเฉลิมฉลองวันประสาทหูเทียมโลก (World Cochlear Implant Day) ร่วมไปกับทุกคนที่ใช้ชีวิตและได้รับประโยชน์จากประสาทหูเทียม โดยวันดังกล่าวนี้มีขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เทคโนโลยีที่พัฒนาไปมากนับตั้งแต่ประสาทหูเทียมสมัยใหม่ถูกประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ 45 ปีที่แล้ว นอกจากนี้ สำหรับเมดเอล วันดังกล่าวก็เป็นเหตุผลอันดีในการตระหนักถึงความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของประสาทหูเทียม ซึ่งได้ผ่าตัดฝังในร่างกายไปแล้วประมาณ 1 ล้านรายการ ช่วยให้ผู้คนทั่วโลกได้ยินเสียง[1]
ระบบประสาทหูเทียมที่เรารู้จักกันในวันนี้เป็นแบบดีไซน์ขนาดเล็ก พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่จะไม่ล้าสมัยในอนาคต ซึ่งพัฒนามาไกลมากนับจากช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ที่อิงเงอบอร์ก โฮคไมเออร์ (Ingeborg Hochmair) และแอร์วิน โฮคไมเออร์ (Erwin Hochmair) เริ่มพัฒนาประสาทหูเทียมเครื่องแรก โดยประสาทหูเทียมรุ่นบุกเบิกนั้นแม้จะใช้ตัวประมวลเสียงขนาดเทอะทะสวมติดร่างกาย แต่ก็ถือว่าเป็นเครื่องปฏิวัติวงการที่ช่วยให้ผู้มีประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง (Sensorineural hearing loss) สามารถสัมผัสโลกโดยกลับมาได้ยินเสียงและพูดได้อีกครั้ง ประสาทหูเทียมในทุกวันนี้มีขนาดเล็กกว่าและสวมใส่หลังหู พร้อมด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ใช้ได้ยินเสียงทั้งหมดแม้กระทั่งรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในดนตรี ทั้งนี้ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตัวประมวลเสียง RONDO ของเมดเอลช่วยให้ชีวิตของผู้ใช้เรียบง่ายขึ้นด้วยการผนวกไมโครโฟน, ตัวประมวลผล, ขดลวด และแหล่งจ่ายไฟไว้ในเครื่องเดียวที่มีขนาดเท่าเหรียญ
อนาคตของประสาทหูเทียมนั้นดูน่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง โดยขณะนี้ ประสาทหูเทียมแบบฝังในร่างกายได้ทั้งหมดกำลังอยู่ในขั้นการทดลองทางคลินิก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ โดยใช้ AI อีกด้วย
ยกระดับคุณภาพชีวิต
พัฒนาการอย่างต่อเนื่องในด้านเทคโนโลยีและดีไซน์ประสาทหูเทียมช่วยให้ผู้คนทุกวัยที่สูญเสียการได้ยินได้มีคุณภาพชีวิตใหม่ โดยผลการศึกษาต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าเด็กที่เกิดมาหูหนวกจะได้ประโยชน์มากสุดเมื่อติดตั้งประสาทหูเทียมตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะตั้งแต่ในช่วงขวบปีแรก[2] เพื่อให้เด็กกลุ่มนี้มีโอกาสได้พัฒนาทักษะทางภาษาแบบเดียวกับเด็กที่มีการได้ยินตามปกติ[3] คอลลีน (Colleen) คุณแม่ชาวสหรัฐรายหนึ่ง กล่าวถึงลูกชายว่า "ประสาทหูเทียมของเลียม (Liam) เป็นส่วนหนึ่งของตัวเขา แต่มันไม่ได้เป็นตัวกำหนดหรือเป็นข้อจำกัดในทางไหนเลยค่ะ เพราะประสาทหูเทียมเครื่องนี้ช่วยให้เขาได้มีชีวิตแบบเดียวกับที่ฉันจินตนาการไว้ตั้งแต่เขายังเล็ก"
โชคดีที่ประสาทหูเทียมไม่เพียงเป็นประโยชน์กับเด็กเท่านั้น แต่ยังช่วยคืนคุณภาพชีวิตให้ผู้ใหญ่ที่สูญเสียการได้ยินอีกด้วย โดยช่วยให้มีชีวิตทางสังคมมากขึ้นและมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับครอบครัวและเพื่อนฝูง
ชาร์ลีน (Sharlene) ผู้ใช้ประสาทหูเทียมจากฟิลิปปินส์กล่าวว่า "ถ้าไม่มีประสาทหูเทียม ฉันคงไม่สามารถบรรลุความสำเร็จต่าง ๆ ที่ทำมาตลอดหลายปี และคงไม่ได้มีความสัมพันธ์อันดีกับครอบครัว เพื่อนฝูง และอาจารย์ค่ะ"
อย่างไรก็ดี ยังมีคนอีกมากที่ไม่ได้ใช้ประสาทหูเทียมทั้งที่สมควรได้ แม้การสำรองจ่ายค่าประสาทหูเทียมสำหรับเด็กส่วนใหญ่จะสามารถขอเบิกคืนได้ในภายหลัง แต่ผู้ใหญ่หลายคนที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงไปจนถึงหูหนวกกลับไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ในส่วนนี้ โดยเฉลี่ยแล้ว มีคนกลุ่มนี้ไม่ถึง 10% ที่ใช้ประสาทหูเทียมจริง ๆ[4]
แก้ไขปัญหาการสูญเสียการได้ยินตั้งแต่เนิ่น ๆ
การสูญเสียการได้ยินยังคงเป็นปัญหาที่ถูกมองข้ามหรือถูกมองว่าเป็นแค่ส่วนหนึ่งของความชรา อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า การสูญเสียการได้ยินที่ไม่ได้รับการรักษาอาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมถึง 8%[5] ซึ่งยิ่งตอกย้ำว่า การสูญเสียการได้ยินไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหนก็ไม่ควรเพิกเฉย โดยเป็นเรื่องสำคัญไม่ใช่แค่กับตัวเอง แต่รวมถึงคนที่รักด้วย
อิงเงอบอร์ก โฮคไมเออร์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของเมดเอล แนะว่า "อย่ามองว่าการสูญเสียการได้ยินเป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิตและความชรา ถ้าคุณหรือคนรู้จักมีปัญหาด้านการได้ยิน ก็ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่เนิ่น ๆ"
เมดเอลนำเสนอข้อมูลที่มีประโยชน์ผ่านทางเว็บไซต์ รวมถึงภาพรวมปัญหาการสูญเสียการได้ยินในแบบต่าง ๆ พร้อมแบบทดสอบการได้ยินทางออนไลน์ฟรี เพื่อช่วยระบุปัญหาการสูญเสียการได้ยินที่อาจมี
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสาทหูเทียมจากเมดเอลได้ที่ www.medel.com/hearing-solutions/cochlear-implants
พูดคุยกับผู้ใช้ประสาทหูเทียมทั่วโลกได้ที่ www.hearpeers.medel.com/connect
เกี่ยวกับเมดเอล
เมดเอล เมดดิคัล อิเล็คโทรนิกส์ (MED-EL Medical Electronics) คือผู้นำด้านการผลิตประสาทหูเทียม โดยมีพันธกิจในการเอาชนะการสูญเสียการได้ยินซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารและคุณภาพของชีวิต บริษัทเอกชนจากออสเตรียแห่งนี้ร่วมก่อตั้งโดยผู้บุกเบิกของวงการ ได้แก่ อิงเงอบอร์ก โฮคไมเออร์ (Ingeborg Hochmair) และแอร์วิน โฮคไมเออร์ (Erwin Hochmair) ผู้บุกเบิกการวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาประสาทหูเทียมไมโครอิเล็กทรอนิกส์แบบหลายช่องสัญญาณเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งผ่าตัดฝังในร่างกายสำเร็จเมื่อปี 2520 และเป็นต้นแบบของประสาทหูเทียมสมัยใหม่ในปัจจุบัน ความสำเร็จดังกล่าวเป็นรากฐานการเติบโตของบริษัท โดยมีการจ้างพนักงานกลุ่มแรกในปี 2533 และปัจจุบันมีพนักงานกว่า 2,500 คน จากประมาณ 80 ประเทศ ในสำนักงาน 30 สาขาทั่วโลก
เมดเอลมีผลิตภัณฑ์ช่วยฟังทั้งแบบฝังในร่างกายและแบบใช้ภายนอกสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินทุกระดับ ผู้คนใน 137 ประเทศสามารถได้ยินเสียงโดยใช้อุปกรณ์ของเมดเอล ซึ่งประกอบด้วยระบบประสาทหูชั้นในเทียมและระบบประสาทหูชั้นกลางเทียม ระบบประสาทหูเทียมที่ใช้การกระตุ้นด้วยเสียงแบบไฟฟ้า ระบบประสาทหูเทียมชนิดฝังที่ก้านสมอง และอุปกรณ์นำเสียงผ่านกระดูกทั้งแบบผ่าตัดฝังและไม่ต้องผ่าตัด www.medel.com
1. Zeng, F.-G. (2022). Celebrating the one millionth cochlear implant. JASA Express Letters, 2(7), 1-8.
2. Culbertson SR et al. (2022): Younger Age at Cochlear Implant Activation Results in Improved Auditory Skill Development for Children With Congenital Deafness. J Speech Lang Hear Res. 2022 Sep 12;65(9):3539-3547.
3. May-Mederake B et al. (2010): Evaluation of auditory development in infants and toddlers who received cochlear implants under the age of 24 months with the LittlEARS) Auditory Questionnaire. Int J Pediatr Otorhinolaryngol. 2010 Oct;74(10):1149-55.
4. De Raeve L, Van Hardeveld R (2013): Prevalence of cochlear implants in Europe: What do we know and what can we expect? Journal of Hearing Science, 2013, 3 (4):12.
5. Livingston G et al. (2020): Dementia prevention, intervention, and care: 2020 report of the Lancet Commission. Lancet. 2020 Aug 8;396(10248):413-446.
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2002223/MED_EL_Cochlear_Implant.jpg
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1860202/MED_EL_Logo.jpg
ติดต่อ:
www.medel.com/press-room