รอสักครู่...

  • น.
พื้นที่โฆษณา

ข่าวสุขภาพ

ข่าวสุขภาพ - ฟาร์มิ่ง ประกาศผลลัพธ์เชิงบวกจากการวิจัยยา "เลนิโอลิซิบ" ในการประชุมสมาคมโลหิตวิทยาแห่งอเมริกา ครั้งที่ 64


ชอบข่าวนี้?
พื้นที่โฆษณา

นายแพทย์ วี. โคเนติ ราโอ ร่วมแบ่งปันหลักฐานใหม่ด้านความปลอดภัยในระยะยาวและการตอบสนองทางโลหิตวิทยาของผู้ป่วยที่ได้รับยาเลนิโอลิซิบเพื่อรักษาโรค APDS ซึ่งเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิชนิดหายาก

ผลการวิเคราะห์ก่อนการวิจัยสิ้นสุดแสดงให้เห็นว่ายาเลนิโอลิซิบทนต่อผลข้างเคียงได้ดีและมีประสิทธิภาพความทนทานในการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมระยะที่ 2/3

ฟาร์มิ่ง กรุ๊ป เอ็น.วี. (Pharming Group N.V.) (EURONEXT Amsterdam: PHARM) (Nasdaq: PHAR) เปิดเผยข้อมูลรวมถึงหลักฐานใหม่จากการวิเคราะห์ก่อนการวิจัยสิ้นสุด (Interim Analysis) ในการศึกษาเพิ่มเติมแบบเปิดเพื่อประเมินยาเลนิโอลิซิบ (leniolisib) ซึ่งเป็นยาออกฤทธิ์จำเพาะยับยั้งฟอสโฟอิโนซิไทด์ 3-ไคเนส เดลตา (phosphoinositide 3-kinase delta หรือ PI3K?) แบบรับประทาน สำหรับรักษาผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่เป็นโรค APDS หรือ แอคติเวเตด ฟอสโฟอิโนซิไทด์ 3-ไคเนส เดลตา ซินโดรม (activated phosphoinositide 3-kinase delta syndrome) ซึ่งเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิชนิดหายาก โดยนายแพทย์ วี. โคเนติ ราโอ (V. Koneti Rao) นักวิจัยหลักและแพทย์ประจำคลินิกโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ ณ สถาบันสุขภาพแห่งชาติเมืองเบเทสดา รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา ได้มาร่วมแบ่งปันผลลัพธ์ที่เป็นบวกในการนำเสนอด้วยวาจา ณ การประชุมประจำปี 2565 ของสมาคมโลหิตวิทยาแห่งอเมริกา (American Society of Hematology หรือ ASH)

ดร.เวอร์จิล ดาล์ม ( Virgil Dalm) นักวิจัยหลักและที่ปรึกษาด้านภูมิคุ้มกันวิทยาทางคลินิก จากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยอีราสมุส (Erasmus MC) เมืองรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ แสดงความเห็นว่า

"ผมรู้สึกตื่นเต้นกับการค้นพบของฟาร์มิ่งที่ตอกย้ำว่ายาเลนิโอลิซิบทนต่อผลข้างเคียงได้ดี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรค APDS โดยผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นถึงความทนทานในระยะยาวของยาเลนิโอลิซิบ ด้วยค่ามัธยฐานของระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษากว่า 2 ปี (102 สัปดาห์) และมี 5 คนที่ได้รับการรักษานานกว่า 5 ปี ผู้ป่วยโรค APDS มักทุกข์ทรมานจากการติดเชื้อซ้ำแล้วซ้ำเล่า การบำบัดรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลินตลอดชีวิตจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดภาระโรค การรักษาด้วยยาเลนิโอลิซิบแสดงให้เห็นว่าสามารถลดอัตราการติดเชื้อรายปีได้อย่างมีนัยสำคัญ และช่วยให้ 37% ของผู้ป่วยที่ต้องบำบัดรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลินสามารถลดหรือหยุดการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวได้ นับเป็นผลลัพธ์ที่โดดเด่นสำหรับการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติแต่กำเนิดของภูมิคุ้มกัน และจากการศึกษาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับยาเลนิโอลิซิบ ผมหวังว่าจะได้มีส่วนร่วมในการเพิ่มพูนความรู้เพื่อนำเสนอทางเลือกการรักษาที่ดีขึ้นสำหรับผู้ป่วยโรค APDS"

การศึกษาเพิ่มเติมที่กำลังดำเนินอยู่นี้ ครอบคลุมผู้ป่วยโรค APDS จำนวน 37 รายที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป ซึ่ง ณ เวลาที่มีการเก็บข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ก่อนการวิจัยสิ้นสุด ผู้ป่วยได้รับยาเลนิโอลิซิบ 70 มิลลิกรัม วันละสองครั้ง เป็นเวลาสูงสุด 6 ปีกับอีก 3 เดือน โดยค่ามัธยฐานของระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาอยู่ที่ 102 สัปดาห์ การศึกษานี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อประเมินความปลอดภัยและความทนทานของการรักษาระยะยาวด้วยยาเลนิโอลิซิบในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่เป็นโรค APDS ซึ่งเคยเข้าร่วมการศึกษายาเลนิโอลิซิบระยะ 2/3 มาแล้ว โดยผลลัพธ์รอง (Secondary Endpoint) ของการศึกษาเพิ่มเติมคือ การประเมินประสิทธิภาพและเภสัชจลนศาสตร์ของการรักษาด้วยยาเลนิโอลิซิบในระยะยาวในผู้ป่วยกลุ่มนี้

ผลการวิเคราะห์ก่อนการวิจัยสิ้นสุดพบว่า ยาเลนิโอลิซิบทนต่อผลข้างเคียงได้ดี ณ จุดนี้ นอกจากนั้นยังบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพความทนทานในการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญเมื่อพิจารณาจากผลลัพธ์หลักร่วม (Co-Primary Endpoint) นั่นคือ การลดลงของขนาดต่อมน้ำเหลืองและการเพิ่มขึ้นของเซลล์นาอีฟบี (naive B cells) โดยผลลัพธ์บ่งชี้ถึงผลบวกในระยะยาวที่มีต่อภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติและภูมิคุ้มกันบกพร่องที่มักพบในผู้ป่วยโรค APDS ซึ่งมีอาการเฉพาะคือการติดเชื้อ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง โรคลำไส้ โรคหลอดลมโป่งพอง ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่ที่มีการรายงานในการวิเคราะห์ก่อนการวิจัยสิ้นสุดคือระดับ 1 และ 2 รวมถึงการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน อาการปวดศีรษะ และมีไข้ ซึ่งเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระดับ 1 มีความรุนแรงน้อยที่สุด และระดับ 5 มีความรุนแรงมากที่สุด โดยรวมแล้ว 13.5% ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มีความเกี่ยวข้องกับยาที่ศึกษา และส่งผลต่อผู้ป่วย 5 ราย ซึ่งรวมถึงน้ำหนักขึ้น ปวดข้อ น้ำตาลในเลือดสูง และจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลลดลง และจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั้งหมด พบว่า 16.2% มีความรุนแรง แต่ไม่มีการระบุว่าเกี่ยวข้องกับการรักษาในการศึกษานี้ ขณะเดียวกัน มีผู้เข้าร่วมการศึกษาเสียชีวิตหนึ่งราย แต่ระบุว่าไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาในการศึกษานี้แต่อย่างใด

ในบรรดาผู้เข้าร่วมการศึกษา บางคนพบว่าตัวบ่งชี้โรค APDS ลดลง โดยมีระดับการตอบสนองที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งการตอบสนองมีดังต่อไปนี้

ภาวะต่อมน้ำเหลืองโต ภาวะม้ามโต และระดับแอนติบอดี IgM ลดลง
ภาวะโลหิตจาง ภาวะเกล็ดเลือดน้อย และภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำดีขึ้นหรือกลับสู่ภาวะปกติ
ภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำในผู้ป่วยทุกคนกลับสู่ภาวะปกติ
ที่สำคัญคือ 37% ของผู้เข้าร่วมการศึกษาที่ได้รับการบำบัดรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin Replacement Therapy หรือ IRT) สามารถลดการทำ IRT ได้ในขณะที่รับประทานยาเลนิโอลิซิบ และผู้ป่วย 6 รายสามารถเลิกทำ IRT โดย 4 รายในจำนวนนี้ไม่ต้องทำ IRT เป็นเวลานาน 1 ถึง 2.5 ปี ณ เวลาที่มีการวิเคราะห์ ขณะเดียวกัน ผู้ป่วย 3 รายที่มีประวัติเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองก่อนการทดลอง ไม่มีผู้ป่วยรายใดที่มะเร็งเกิดซ้ำหรือเกิดใหม่ในขณะที่เข้าร่วมการศึกษา

นายแพทย์อนุรัก เรลาน ( Anurag Relan) สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ของฟาร์มิ่ง กล่าวว่า

"ฟาร์มิ่งยินดีที่ได้แบ่งปันผลการค้นพบเชิงบวกเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพในระยะยาวของยาเลนิโอลิซิบ ผลลัพธ์ที่ประกาศในการประชุมประจำปี 2565 ของสมาคมโลหิตวิทยาแห่งอเมริกา ได้มาจากการค้นพบในการศึกษาระยะที่ 2/3 ที่ประกาศไปเมื่อต้นปีนี้ และเผยแพร่ในวารสารบลัด (Blood) [1] ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งเน้นย้ำถึงศักยภาพของยาเลนิโอลิซิบในการควบคุมการพัฒนาอาการของโรค APDS ซึ่งเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน เราภูมิใจที่ได้ช่วยเติมเต็มความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองด้วยการพัฒนายาที่อาจกลายเป็นยาตัวแรกที่ได้รับการอนุมัติเพื่อจัดการกับสาเหตุของโรค APDS"

ผลการวิเคราะห์ก่อนการวิจัยสิ้นสุดมีความสอดคล้องกับข้อมูลที่รายงานครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 จากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2/3 เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพของยาเลนิโอลิซิบในการรักษาผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่เป็นโรค APDS โดยเมื่อเทียบกับยาหลอก พบว่าผู้ป่วยในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2/3 ประสบความสำเร็จในการลดขนาดต่อมน้ำเหลืองและเพิ่มสัดส่วนของเซลล์นาอีฟบีในกระแสเลือด

เมื่อพิจารณาผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2/3 และผลการศึกษาเพิ่มเติมแบบเปิดในระยะยาว สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (US FDA) กำลังดำเนินการประเมินยากรณีเร่งด่วน (Priority Review) สำหรับยาเลนิโอลิซิบ ซึ่งมีการยื่นขอขึ้นทะเบียนยาใหม่ (New Drug Application หรือ NDA) สำหรับรักษาผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่เป็นโรค APDS และได้กำหนดวันตัดสินใจว่าจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติคำขอขึ้นทะเบียนยาใหม่ (Prescription Drug User Fee Act (PDUFA) Goal Date) ในวันที่ 29 มีนาคม 2566 นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการผลิตภัณฑ์การแพทย์สำหรับการใช้ในมนุษย์ (Committee for Medicinal Products for Human Use หรือ CHMP) ขององค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Agency หรือ EMA) ยังรับรองคำขออนุญาตจัดจำหน่ายยาเลนิโอลิซิบภายใต้เงื่อนไขการประเมินแบบเร็ว โดยคาดว่ายาเลนิโอลิซิบจะได้รับอนุญาตให้จำหน่ายในสหภาพยุโรปในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566

เกี่ยวกับแอคติเวเตด ฟอสโฟอิโนซิไทด์ 3-ไคเนส เดลตา ซินโดรม (APDS)

APDS เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิที่พบได้ยาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนประมาณหนึ่งถึงสองคนต่อล้านคน โดยเกิดจากตัวแปรในยีน PIK3CD หรือไม่ก็ยีน PIK3R1 ที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์เม็ดเลือดขาว ตัวแปรของยีนเหล่านี้ทำให้เกิดการทำงานมากกว่าปกติของวิถี PI3K? (ฟอสโฟอิโนซิไทด์ 3-ไคเนส เดลตา)[2],[3] การส่งสัญญาณที่สมดุลในวิถี PI3K? จำเป็นสำหรับการทำงานของภูมิคุ้มกันทางสรีรวิทยา เมื่อวิถีนี้ทำงานมากกว่าปกติ เซลล์ภูมิคุ้มกันจะไม่เติบโตเต็มที่และทำงานไม่ถูกต้อง นำไปสู่ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและภูมิคุ้มกันผิดปกติ[2],[4] โรค APDS มีลักษณะเฉพาะคือการติดเชื้อรุนแรงบริเวณทางเดินหายใจและไซนัส และติดเชื้อซ้ำได้ ไปจนถึงมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง และโรคลำไส้[5],[6] เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจมีเงื่อนไขที่หลากหลายประกอบกัน รวมถึงภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิอื่น ๆ ผู้ที่เป็นโรค APDS จึงมักได้รับการวินิจฉัยผิดพลาดและได้รับการวินิจฉัยล่าช้าเฉลี่ยถึง 7 ปี[7] เนื่องจาก APDS เป็นโรคที่ลุกลามมาก ความล่าช้านี้อาจทำให้เกิดความเสียหายสะสมเมื่อเวลาผ่านไป รวมทั้งความเสียหายที่ปอดอย่างถาวรและเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง[5]-[8] วิธีเดียวที่จะวินิจฉัยภาวะนี้ได้อย่างชัดเจนคือผ่านการทดสอบทางพันธุกรรม

เกี่ยวกับเลนิโอลิซิบ

เลนิโอลิซิบ (Leniolisib) เป็นตัวยับยั้งโมเลกุลขนาดเล็กของไอโซฟอร์มเดลตาของหน่วยย่อยตัวเร่งปฏิกิริยา 110 kDa ของคลาส IA PI3K โดย PI3K? แสดงออกอย่างเด่นชัดในเซลล์เม็ดเลือดและจำเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันปกติโดยการเปลี่ยนฟอสฟาติดิลโนซิทอล-4-5-ไตรฟอสเฟต (PIP2) เป็นฟอสฟาติดิลโนซิทอล-3-4-5-ไตรฟอสเฟต (PIP3) เลนิโอลิซิบยับยั้งการผลิต PIP3 ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวส่งสารในเซลล์ที่สำคัญซึ่งกระตุ้น AKT (ผ่าน PDK1) และควบคุมการทำงานของเซลล์มากมาย เช่น การเพิ่มจำนวนของเซลล์ การพัฒนาให้มีความจำเพาะของเซลล์ การผลิตไซโตไคน์ การอยู่รอดของเซลล์ การสร้างเส้นเลือดใหม่ และเมแทบอลิซึม ทั้งนี้ PI3K? และ PI3K? มีอยู่ทั่วไป แต่ PI3K? และ PI3K? พบในเซลล์ต้นกำเนิดที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดเป็นหลัก บทบาทสำคัญของ PI3K? ในการควบคุมการทำงานของเซลล์จำนวนมากของระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (เซลล์บีและเซลล์ทีในระดับที่น้อยกว่า) ตลอดจนระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล แมสต์เซลล์ และเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจ) บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า PI3K? เป็นเป้าหมายการรักษาที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสำหรับโรคภูมิคุ้มกันประเภทต่าง ๆ เช่น โรค APDS จนถึงปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยทนต่อยาเลนิโอลิซิบได้ดี ทั้งในการทดลองระยะที่ 1 เป็นครั้งแรกในมนุษย์ โดยทดลองในคนที่มีสุขภาพดี และการทดลองระยะที่ 2/3 ที่มีการเปิดรับผู้ป่วยโรค APDS เข้าร่วมการทดลอง

เกี่ยวกับฟาร์มิ่ง กรุ๊ป เอ็น.วี.

ฟาร์มิ่ง กรุ๊ป เอ็น.วี. (Pharming Group N.V.) (Euronext Amsterdam: PHARM) (NASDAQ: PHAR) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลกที่มุ่งมั่นเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้ป่วยที่เป็นโรคหายาก ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และเป็นอันตรายถึงชีวิต ฟาร์มิ่งพัฒนาและทำการตลาดยาทดแทนโปรตีนและยารักษาแบบแม่นยำ ซึ่งรวมถึงยาโมเลกุลขนาดเล็ก ยาชีววัตถุ และยีนบำบัด ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาทั้งในระยะแรกและระยะสุดท้าย ทั้งนี้ ฟาร์มิ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองไลเดิน ประเทศเนเธอร์แลนด์ และมีพนักงานทั่วโลกที่คอยช่วยเหลือผู้ป่วยในตลาดกว่า 30 แห่ง ทั้งในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียแปซิฟิก

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pharming.com และติดตามเราได้ทางลิงก์อิน

ข้อความคาดการณ์อนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ประกอบด้วยข้อความคาดการณ์อนาคตที่อ้างอิงการคาดการณ์และสมมติฐานในปัจจุบันของทีมผู้บริหาร โดยมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนทั้งที่ทราบและไม่ทราบ ซึ่งอาจทำให้ผลลัพธ์ ผลการดำเนินงาน หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมีความแตกต่างอย่างมากจากที่แสดงหรือกล่าวเป็นนัยในข้อความคาดการณ์อนาคต ข้อความคาดการณ์อนาคตมักมีการใช้คำหรือวลีต่าง ๆ เช่น "ตั้งเป้า" "จุดมุ่งหมาย" "คาดการณ์" "เชื่อว่า" "อาจจะ" "ประมาณการ" "คาดว่า" "เป้าหมาย" "ตั้งใจ" "อาจ" "หมุดหมาย" "วัตถุประสงค์" "แนวโน้ม" "วางแผน" "น่าจะ" "แผนงาน" "ความเสี่ยง" "กำหนดการ" "แสวงหา" "ควรจะ" "จุดมุ่งหมาย" "จะ" และคำหรือวลีอื่น ๆ ที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน ยกตัวอย่างข้อความคาดการณ์อนาคต เช่น ข้อความเกี่ยวกับกรอบเวลาและความก้าวหน้าในการศึกษาระยะก่อนคลินิกของฟาร์มิ่ง และการทดลองทางคลินิกของผลิตภัณฑ์ , แนวโน้มทางคลินิกและพาณิชย์ของฟาร์มิ่ง และความคาดหวังของฟาร์มิ่งเกี่ยวกับข้อกำหนดเรื่องเงินทุนหมุนเวียนและทรัพยากรเงินสดที่วางแผนไว้ ข้อความเหล่านี้มีความเสี่ยง ความไม่แน่นอน และสมมติฐานมากมาย ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง ขอบข่าย ความคืบหน้า และการขยับขยายการทดลองทางคลินิกและผลลัพธ์ในเรื่องต้นทุนจากการดำเนินการดังกล่าว ไปจนถึงความก้าวหน้าทางคลินิก วิทยาศาสตร์ ระเบียบกำกับดูแล และเทคนิค ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเหล่านี้ รวมถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนอื่น ๆ มีการระบุไว้ในรายงานประจำปี 2564 ของฟาร์มิ่ง และรายงานประจำปีบน Form 20-F สำหรับปีที่สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ซึ่งยื่นให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐแล้ว โดยเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในข้อความคาดการณ์อนาคตเหล่านี้อาจไม่เกิดขึ้น และผลการดำเนินงานจริงของฟาร์มิ่งอาจแตกต่างไปอย่างมากจากที่คาดการณ์หรือระบุเป็นนัยไว้ในที่นี้ ข้อความคาดการณ์อนาคตทั้งหมดในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้มีคุณสมบัติครบถ้วนโดยชัดแจ้งด้วยข้อความเตือนที่ปรากฏหรืออ้างถึงในส่วนนี้ ผู้อ่านไม่ควรพึ่งพาข้อความคาดการณ์อนาคตมากเกินไป เพราะข้อความคาดการณ์อนาคตให้ข้อมูล ณ วันที่เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เท่านั้น และจัดทำขึ้นโดยอิงกับข้อมูลที่ฟาร์มิ่งมีอยู่ ณ วันที่เผยแพร่ ฟาร์มิ่งไม่มีพันธะผูกพันในการปรับปรุงหรือแก้ไขข้อความคาดการณ์อนาคต

ข้อมูลภายใน

ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลที่มีคุณสมบัติหรืออาจมีคุณสมบัติเป็นข้อมูลภายใน ตามความหมายของมาตรา 7(1) ของระเบียบว่าด้วยการละเมิดตลาดของสหภาพยุโรป

อ้างอิง

1. Rao VK, et al. Blood. 2022. https://doi.org/10.1182/blood.2022018546.
2. Lucas CL, et al. Nat Immunol. 2014;15:88-97.
3. Elkaim E, et al. J Allergy Clin Immunol. 2016;138(1):210-218.
4. Nunes-Santos C, Uzel G, Rosenzweig SD. J Allergy Clin Immunol. 2019;143(5):1676-1687.
5. Coulter TI, et al. J Allergy Clin Immunol. 2017;139(2):597-606.
6. Maccari ME, et al. Front Immunol. 2018;9:543.
7. Jamee M, et al. Clin Rev Allergy Immunol. 2019;May 21.
8. Condliffe AM, Chandra A. Front Immunol. 2018;9:338.

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ฟาร์มิ่ง กรุ๊ป (Pharming Group) เมืองไลเดิน ประเทศเนเธอร์แลนด์
ไมเคิล เลวิทัน (Michael Levitan) รองประธานฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
โทร: +1 (908) 705 1696

เฮเทอร์ โรเบิร์ตสัน (Heather Robertson) ผู้จัดการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
อีเมล: investor@pharming.com

เอฟทีไอ คอนซัลติง (FTI Consulting) กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
วิกตอเรีย ฟอสเตอร์ มิตเชลล์ (Victoria Foster Mitchell) / อเล็กซ์ ชอว์ (Alex Shaw) / เอมี เบิร์น (Amy Byrne)
โทร: +44 203 727 1000

ไลฟ์สปริง ไลฟ์ ไซเอนเซส คอมมิวนิเคชัน (LifeSpring Life Sciences Communication) กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
ออน เมเลนส์ (Leon Melens)
โทร: +31 6 53 81 64 27
อีเมล: pharming@lifespring.nl

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ในสหรัฐอเมริกา
อีธาน เมเทเลนิส (Ethan Metelenis)
อีเมล: Ethan.Metelenis@precisionvh.com
โทร: +1 (917) 882 9038

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ในสหภาพยุโรป
แดน เคลีย์ (Dan Caley)
อีเมล: Dan.caley@aprilsix.com
โทร: +44 (0) 787 546 8942

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1778344/Pharming_Group_NV_Logo.jpg


"ข่าวประชาสัมพันธ์ ทันทุกกระแส" กับ @PRNewsThailand

เพิ่มเพื่อน
พื้นที่โฆษณา

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่โฆษณา
พื้นที่โฆษณา