รอสักครู่...

  • น.
พื้นที่โฆษณา

ข่าวงานอีเว้นท์

ข่าวงานอีเว้นท์ - งานไพรด์ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ไทยแลนด์ ไพรด์ เฟสติวัล 2022: งานไพรด์ที่จัดขึ้นเพื่อเอกภาพในความหลากหลาย


ชอบข่าวนี้?
พื้นที่โฆษณา

กลุ่มพันธมิตรที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI) ในประเทศไทย ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดงาน ไทยแลนด์ ไพรด์ เฟสติวัล 2022 เป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2565 ที่กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด เอกภาพในความหลากหลาย (Unity and Diversity) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความหลากหลายและการอยู่ร่วมกันในสังคม อีกทั้งยังเพื่อสนับสนุนในกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศให้มีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการตีตราและการเลือกในประเทศและกลุ่มที่มีความหลากหลายอื่นให้มีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการตีตราและการเลือกปฏิบัติ

คุณมิดไนท์ พูนเกษตรวัฒนา ผู้อำนวยการมูลนิธิแอ็พคอม (APCOM Foundation) และคณะทำงาน Thailand Pride Festival 2022 กล่าวว่า “พวกเราอยากให้งาน Thailand Pride Festival เป็นงานประจำปีที่สานต่อจากงาน Bangkok Pride festival ที่เคยถูกจัดใน เดือนพฤศจิกายนของทุก ๆ ปี ซึ่งครั้งสุดท้ายที่มีงานนี้ก็นานมาแล้ว ในปี 2550” พร้อมเพิ่มเติมอีกว่า “ในขณะที่เรากำลังเริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 เราจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อสนับสนุนให้เราทุกคนมีสิทธิ์และเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ ที่ดีขึ้นและเท่าเทียมกัน ที่จริงแล้วเราทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ แม้จะมีความแตกต่าง ซึ่งสิ่งนี้ควรค่าแก่การเฉลิมฉลองด้วยเช่นกัน”

งานไทยแลนด์ ไพรด์ เฟสติวัล ได้ขยายแนวคิดเรื่อง สนับสนุนความหลากหลายและยอมรับความแตกต่าง นอกเหนือจากกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ ไปยังกลุ่มเปราะบางและกลุ่มชายขอบอื่น ๆ ตามหลักคำปฏิญาณขององค์การสหประชาชาติที่จะ "ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" ซึ่งกำหนดไว้ในวาระ 2030 เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คำว่า "ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" ในที่นี้หมายถึง การรวมตัวกันทางสังคม ซึ่งนำไปสู่การสร้างการมองเห็นและการมีส่วนร่วมของกลุ่มเปราะบางและชายขอบ ดังนั้น ทางผู้จัดและผู้ร่วมจัดงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จึงจับมือกันเพื่อทำให้ ไทยแลนด์ ไพรด์ เฟสติวัล นี้ ไม่เหมือนงานไพรด์อื่น ๆ ที่เรารู้จักมาก่อน

รูปแบบของงาน จัดเป็นแบบเทศกาล ซึ่งในแต่ละวันจะมีกิจกรรมที่จัดขึ้นตามสถานที่และเวลาที่ระบุไว้แตกต่างกันไป ซึ่งกิจกรรมเด่นมีดังนี้

25 พฤศจิกายน 2565: งานมอบรางวัล ฮีโร่ อวอร์ด 2022 ณ สถานทูตออสเตรเลียและ งาน HERO Awards After Party 2022 ณ โรงแรม SO/ Bangkok

“Thailand Pride Festival 2022 เป็นงานแห่งความภาคภูมิใจของทุกคน ไม่ว่าคุณจะนิยามตนเองว่าเป็นเพศใด วิถีใด อัตลักษณ์ใด ทุกคนล้วนมีคุณค่า มีสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน มาร่วมสร้างและเฉลิมฉลองกับสังคมแห่งความเท่าเทียมไปด้วยกันนะคะ” จิรภัทร ตรงจิตต์รักษา (ชมพิ้งค์), Miss Queen Rainbow Sky Bangkok 2022 และ พิธีกรงาน Thailand Pride Festival 2022

กิจกรรมในงานไทยแลนด์ ไพรด์ เฟสติวัล 2022 นี้ ยังเป็นงานระดมทุนการกุศลฉุกเฉินเพื่อเยียวยากลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศระดับรากหญ้าที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ท่านสามารถมีส่วนร่วมในการสมทบทุนผ่านบัญชี กองทุน #CoronaAPCOMpassion ได้ ตามรายละเอียดนี้
https://www.apcom.org/apcom-staffs-donate-salaries-creates-coronaapcompassion/

26 พฤศจิกายน 2565: เทศกาลงานไพร์ดในชุมชนสีลม ณ สีลม ซอย 4

27 พฤศจิกายน 2565: เทศกาลงานไพร์ด ณ ลานหน้าจามจุรี สแควร์ และ ไพร์ด พาเหรด ณ ถนนลีสม

ไฮไลท์สำคัญของเทศกาลอยู่ที่วันสุดท้ายของงาน เริ่มจากขบวนพาเหรดจากแยกนราธิวาสราชนครินทร์ ไปจนถึงสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง ที่ใคร ๆ ก็บอกว่าเป็นขบวนพาเหรดที่น่าประทับใจมาก มีผู้เข้าร่วมกว่า 500 คนที่ต่างตั้งใจมาเพื่อเฉลิมฉลองงานไพด์ พร้อมกับช่วยสร้างความตระหนักรู้ในความหลากหลายและการอยู่ร่วมกันในหมู่สาธารณชน ซึ่งในปีนี้ที่มีผู้เข้าร่วมที่สำคัญ อย่างเช่น ตัวแทนจากสถานทูต ในประเทศไทย กว่า 15 ประเทศ ประกอบไปด้วย แคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ สเปน ออสเตรีย เดนมาร์ก ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวีเดน นอร์เวย์ ฝรั่งเศส เบลเยียม และสหภาพยุโรป รวมทั้งสิ้น 75 คน ที่มาร่วมเดินขบวนภายใต้แคมเปญของสถานทูตเอง ที่ชื่อว่า “รัก คือ รัก จากเพื่อนนานาชาติที่สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ” นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ จากนานาชาติ รวมไปถึงกลุ่มผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ผู้ค้าบริการทางเพศ ผู้พิการ และเครือข่ายชุมชนอื่น ๆ ร่วมกับพันธมิตร ทั้งภาครัฐ และเอกชน ตบเท้าเข้ามาร่วมโบกธงสีรุ้งในขบวนพาเหรดด้วยเช่นกัน ทั้ง 5 ขบวนนั้น ผู้จัดงานได้ตั้งชื่อขบวนเพื่อสื่อสารไปยังสาธารณะผ่านขบวนแต่ละขบวน ดังนี้ P – Peace สันติภาพ, R – Rights สิทธิ, I – Identity อัตลักษณ์, D – Diversity ความหลากหลาย และ E – Equality ความเท่าเทียมกัน แม้ว่าปีนี้เส้นทางที่เดินขบวนจะเป็นระยะสั้น แต่นี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างการรับรู้ถึงงานไพรด์ และการมีตัวตนของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ประชากรกลุ่มเปราะบาง และกลุ่มชายขอบได้อย่างชัดเจน

“ประเทศไทยถือเป็นบ้านหลังหนึ่งสำหรับกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศในภูมิภาคนี้ เราจึงอยากจัดงาน Thailand Pride Festival 2022 ให้เป็นงานใหญ่พอที่จะสามารถต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือกลุ่มคนอื่น ๆ ที่ย้ายเข้ามาทำงานที่ประเทศไทย ให้เข้ามามีส่วนร่วมกับงานของเราได้ ยิ่งไปกว่านี้ เราอยากให้มีการรวมตัวของทุกภาคส่วนในการจัดงาน เพราะว่าคณะทำงานเราเป็นเพียงแค่กลุ่มเล็ก ๆ ดังนั้นความช่วยเหลือของแต่ละบุคคลและองค์กรถือว่ามีความสำคัญมาก อยากขอเชิญชวนให้มาร่วมกันทำให้งานไพรด์นี้ยิ่งใหญ่และเป็นของทุกคนกันเถอะ” นิกร อาทิตย์, ประธานองค์กรบางกอกเรนโบว์ และคณะทำงาน Thailand Pride Festival 2022

อีกหนึ่งไฮไลท์ที่สร้างแรงบันดาลใจได้เป็นอย่างมาก คือ งานเทศกาลหลัก ที่จัดในวันเดียวกัน ณ ลานหน้าจามจุรี สแควร์ ในงานเปิดเป็นสาธารณะ ที่มีทั้งเวทีสำหรับการแสดง บูธจากเครือข่าย ร้านค้าขายของและเครื่องดื่ม นิทรรศการ “Body Positivity” โดยมูลนิธิแอ็พคอม และกิจกรรมให้ร่วมสนุกอื่น ๆ ซึ่งตลอดทั้งวัน มีผู้เข้างานร่วมกว่า 1,000 คน ในส่วนของการแสดงบนเวทีต่าง ๆ นั้นได้ถูกคัดเลือกมาเป็นอย่างดี เพื่อแสดงถึงความหลายหลายของทุกกลุ่มเป้าหมาย ที่ไม่เจาะจงเฉพาะกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศเท่านั้น ยกตัวอย่างการแสดงในงาน เช่น มีการแสดงวาไรตี้โดยกลุ่มผู้ที่มีอาการดาวน์ซินโดรมฮีโร่ ไทยแลนด์ และเครือข่ายดนตรีและศิลปะคนพิการ มีการแสดงแดร็กโชว์ โดย ดาวฟ้า มีโชว์พิเศษจากหนุ่ม ๆ โดย ร้าน Moonlight จากชุมชนสีลม มีมินิคอนเสิร์ตจากวงน้องใหม่ Z22 (จากค่ายเพลงอจินไตย เอ็นเตอร์เทนเมนท์) และซิลวี่ (จากค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิค) รวมถึงมีการอภิปรายในหัวข้อต่าง ๆ เช่น “ผู้สูงอายุ” “คนจนในเมือง” “ผู้ใช้ยา” “ผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี” “ความรักของผู้หญิงในสื่อบันเทิง” รวมถึง “การผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ ในประเทศไทย” ตลอดทั้งงานมีการดำเนินรายการโดยพิธีพิเศษที่ได้รับเชิญจากชุมชนเครือข่ายที่มีความหลากหลายทางเพศที่มาร่วมจัดงาน ประกอบไปด้วย ดร.มิกซ์ และ ชมพิงค์ ตัวแทน จากสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ที่มาเป็นพิธีกรในช่วงบ่าย รวมไปถึง เอ็ม สเตรนเจอร์ ฟ็อกซ์ ตัวแทนจากชุมชนสีลม และ นัท ชโย ตัวแทนจาก มิสเตอร์เกย์ เวิลด์ ที่มาเป็นพิธีกรในช่วงเย็น ซึ่งการแสดงทั้งหมดนั้นไม่ได้มีแค่ความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนเวทีที่ทำให้ผู้ชมรู้จักกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มมากขึ้น ในงานเดียวกันอีกด้วย

อีกหนึ่งไฮไลท์ที่สำคัญภายในงาน คือ กิจกรรมที่ให้ผู้เข้าร่วมงานได้มีโอกาสเลือกแปะสติกเกอร์ลงบนบอร์ดที่มีหัวข้อนโยบายที่ตนเองอยากให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ซึ่งผลโพลที่ออกมาคือ “กฏหมายสมรสเท่าเทียม” ได้รับเลือกเป็นอันดับแรกด้วยคะแนนโหวต 145 เสียง ตามด้วย “งานบริการทางเพศที่ถูกกฎหมาย” ด้วยคะแนนเสียง 122 เสียง ส่วนนโยบายอีกสามข้อมีคะแนนสูสีกัน ซึ่งได้แก่ “นโยบายแจกผ้าอนามัยฟรี” มีคะแนน 98 เสียง นโยบาย “เซ็กส์ทอยที่ถูกกฎหมาย” มีคะแนน 97 เสียง และ นโยบาย “การเปลี่ยนคำหน้านาม” มี 91 เสียง ซึ่งแม้ว่าผลสำรวจนี้ไม่สามารถสรุปเป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดเพื่อสร้างผลกระทบได้ในขณะนี้ แต่ผลที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดบางประการสำหรับผู้กำหนดนโยบายและรัฐบาลที่พวกเขาควรพิจารณาเรื่องนี้หากต้องการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนสำหรับกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยมากขึ้น


"ข่าวประชาสัมพันธ์ ทันทุกกระแส" กับ @PRNewsThailand

เพิ่มเพื่อน
พื้นที่โฆษณา

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่โฆษณา
พื้นที่โฆษณา