ข่าวพลังงาน, สิ่งแวดล้อม - ถิรไทย รับประกาศนียบัตร คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO) แสดงเครื่องหมายมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่การเติบโตยั่งยืน
บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน) หรือTRTเข้ารับมอบประกาศนียบัตรคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) ประจำปี2566จากการบริหารจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของบริษัท โดยมีปริมาณ4,047ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี ในปี2564
นายกานต์ วงษ์ปานกรรมการ บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทมีแนวคิดในการเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน โดยดำเนินทุกงานให้เป็นไปตามแผนงานของโครงการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงและแสดงให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเห็นถึงความรับผิดชอบทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงยังช่วยบริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อสร้างประโยชน์ส่วนรวมของประเทศตามเป้าหมายของภาครัฐ ซึ่งถิรไทยได้ผ่านขั้นตอนการรับรองและรับมอบประกาศนียบัตรคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่เป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจ และรับผิดชอบลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของบริษัท ได้ในปริมาณสูงสุดอย่างเต็มความสามารถ
สำหรับการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร เป็นวิธีการหนึ่งในการแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจาก3ส่วนหลัก แบ่งเป็นขอบเขต (SCOPE) ซึ่งในปี2564ทีผ่านมา ถิรไทย มีการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางตรง (SCOPE1) ที่577ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี มีการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (SCOPE 2) ที่3,470ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปีทำให้ผลรวมการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท (SCOPE1&2) ตลอดทั้งปีมีปริมาณเพียง 4,047 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี รวมถึงผ่านด้านการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมด้านอื่น ๆ (SCOPE 3) ที่ 190,328 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปีปริมาณการปลดปล่อยทั้งหมด/หน่วยผลิตภัณฑ์0.052 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/kVA
"การผ่านประเมินครั้งนี้ คือส่วนสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้ถิรไทยสามารถจำแนกสาเหตุและหาแนวทางลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อต่อยอดสร้างประโยชน์เพื่อลดการปลดปล่อยตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ และทำการชดเชยคาร์บอนกับองค์กรอื่น ๆ ที่จะช่วยวางทิศทางความร่วมมือช่วยขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) อย่างยั่งยืน" นายกานต์ วงษ์ปานกล่าวสรุป