ข่าวเศรษฐกิจ, การเงิน - ESG-BCG เชื่อมโยงกันอย่างไรกับความยั่งยืน
ไขข้อสงสัย “ESG-BCG เชื่อมโยงกันอย่างไรกับความยั่งยืน” ผ่านรักษ์สร้างสุข EP3
การทำธุรกิจในปัจจุบัน อาจเป็นเรื่องที่ยากสำหรับหลาย ๆ คน เพราะอาจเจอทั้งอุปสรรคทางเศรษฐกิจ และการเผชิญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้เศรษฐกิจมีความผันผวน จากปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะโลกร้อน ฝุ่นควัน หรือมลพิษต่าง ๆ
สำหรับธุรกิจไทยที่ต้องเอาตัวรอดในยุคที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว นอกจากจะต้องมีโมเดลธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เรารู้จักกันในชื่อ ‘BCG’ แล้ว ยังต้องใช้หลักการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนอย่าง ‘ESG’ ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ธุรกิจเติบโตไปกับโลกได้ในระยะยาว
ซึ่งใน 2 EP แรก รายการ รักษ์สร้างสุข ก็ได้พาเราไปรู้จักกับแนวคิดและประโยชน์ของ BCG Model กันไปแล้ว สำหรับ EP นี้ จะมาทำความรู้จักกับแนวคิด ‘ESG’ ที่เข้ามาเสริมพลังในการพัฒนาการดำเนินธุรกิจ แล้ว ESG กับ BCG เชื่อมโยงกับความยั่งยืนยังไง ขอสรุปง่าย ๆ ดังนี้
ESG คือ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจบนความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ประกอบด้วย
E = Environment (สิ่งแวดล้อม : ธุรกิจที่ไม่สร้างผลกระทบและรักษาสิ่งแวดล้อม)
S = Social (สังคม : ธุรกิจที่สร้างผลลัพธ์ที่ดีให้ชุมชนและสังคม)
G = Governance (บรรษัทภิบาล : ธุรกิจที่ดูแลกิจการได้ดีและบริหารงานอย่างซื้อสัตย์โปร่งใส)
แนวคิด ESG กลายเป็นกรอบการพัฒนาธุรกิจที่จะต่อยอดหลักการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่าง BCG ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น #นี่คือผลงานรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทยและของโลก และช่วยเชื่อมต่อความร่วมมือของรัฐกับทุกภาคส่วนได้อย่างสมดุล จนสามารถตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ‘SDGs’ ทั้ง 17 เป้าหมาย เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นภายในปี 2573
รักษ์สร้างสุข ใน EP นี้ เป็นการนำเสนอหลัก ESG ควบคู่ไปกับ BCG ให้เข้าใจง่าย ๆ และยังทำให้เข้าใจแนวคิดของทั้ง 2 โมเดล ที่มีความเชื่อมโยงและมีหลักปฏิบัติที่จะช่วยพัฒนาองค์กรยุคใหม่ให้ดำเนินธุรกิจได้ครบทุกแง่มุมของความยั่งยืน
รับชมเนื้อหาแบบเต็ม ๆ ได้ที่ : https://youtu.be/fsM_DbWN6jg
สามารถติดตามรับชมรายการ “รักษ์สร้างสุข” ใน EP ถัดไปได้ทาง YouTube, TikTok หรือ Facebook รักษ์สร้างสุข
#รักษ์สร้างสุข #Raksrangsuk #BCG #BCGModel #PTT #ปตท #พลังงานสะอาด #BioEconomy #CircularEconomy #GreenEconomy #ความยั่งยืน #เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม #โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจ