ข่าวธุรกิจ, สังคม - SEAProTI ประกาศให้มีนักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรองชุดแรกในไทยเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจด้านภาษาท่ามกลางความต้องการของตลาดที่มากขึ้น
SEAProTI ประกาศให้มีนักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรองชุดแรกในไทยเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจด้านภาษาท่ามกลางความต้องการของตลาดที่มากขึ้น
ความต้องใช้การนักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรองในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากการเติบโตของธุรกิจระหว่างประเทศและการค้าข้ามพรมแดนที่มากขึ้น ทำให้ความต้องการบริการด้านภาษาที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการมาก
ปัจจุบัน ความต้องการใช้นักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรองในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ หมวดที่ 9 ข้อ ๔๖, หมวดที่ ๑๐ ข้อ ๔๗ และข้อ ๔๘ ว่าด้วยนักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรอง รวมถึงการใช้ตราประทับนักแปลและการรับรองการแปลของนักแปล ลงนามโดยนายทะเบียนสมาคมกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567 และเตรียมประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายใน 90 วัน ทั้งนี้ เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการนักแปลและผู้รับรองการแปลที่ได้มาตรฐานสากล ในการแปลและรับรองเอกสารสำคัญ เช่น เอกสารใช้ในศาล เอกสารขอวีซ่า เอกสารราชการใช้ในต่างประเทศ เอกสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ฯลฯ ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ในภาคเอกชนและภาครัฐ หรือผู้ใช้ที่เป็นรายบุคคล
สำหรับนักวิชาชีพของ SEAProTI นั้น นักแปลรับรอง หรือภาษาอังกฤษใช้ว่า Certified Translator มี 3 ระดับ ได้แก่ นักแปลรับรองระดับ 1 (ชื่อย่อว่า ปว.1) นักแปลรับรองระดับ 2 (ชื่อย่อว่า ปว.2) และนักแปลรับรองระดับ 3 (ชื่อย่อว่า ปว.3) โดยนักแปลรับรองระดับ 1 จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแปลที่สมาคมรับรองและมีคุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นสมาชิกสมาคม และนักแปลรับรองระดับ 2 จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแปลที่สมาคมรับรอง และผ่านการสอบและมีผลสอบเป็นไปตามเกณฑ์ที่สมาคมกำหนด และมีคุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นสมาชิกสมาคม และนักแปลรับรองระดับ 3 จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแปลที่สมาคมรับรอง และผ่านการสอบและมีผลสอบเป็นไปตามเกณฑ์ที่สมาคมกำหนด และมีคุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นสมาชิกสมาคม
ผู้รับรองการแปล ของ SEAProTI หรือภาษาอังกฤษใช้ว่า Translation Certification Provider คือผู้รับรองการแปลในภาษาที่ผู้รับรองมีความรู้ความสามารถในการรับรองตามที่สมาคมกำหนด
สำหรับนักวิชาชีพเหล่านี้ สามารถใช้ตราประทับนักแปลที่สมาคมออกให้ และจะต้องปฏิบัติตามหลักวิชาชีพนักแปลของสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งการแปลเอกสารและการประทับตรา "รับรองคำแปลถูกต้อง" หรือ "Certified Correct Translation" โดยตราประทับที่สมาคมออกให้นักแปสรับรอง และ ผู้รับรองการแปล สมาคมจึงได้วางระเบียบไว้คือ เมื่อแปลเอกสารเสร็จ และมีการตรวจสอบคำแปลพร้อมกับผู้ใช้ หรือผู้มีส่วนได้เสียโดยเนื้อความ "จะต้องเป็นที่เข้าใจตรงกัน" แล้วให้นักแปลรับรองและผู้รับรองการแปลประทับตรา "รับรองคำแปลถูกต้อง" (ในกรณีที่เอกสารแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย) หรือ "Certified Correct Translation" (ในกรณีที่เอกสารแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ) จากนั้นให้ผู้รับรองการแปลของสมาคมกรอกรายละเอียดในตราประทับให้สมบูรณ์ และในกรณีที่อาจมีการขอให้ทำ "หนังสือรับรองการแปลจากนักแปล" หรือ "Translator’s Certification" ให้ใช้แบบฟอร์มหนังสือรับรองการแปลจากนักแปลของสมาคมเพื่อเป็นการปฏิญาณตนและรับรองการแปลที่ถูกต้องด้วยถ้อยคำที่ยาวและสมบูรณ์มากขึ้น
ทั้งนี้ ตราประทับ "รับรองคำแปลถูกต้อง" หรือ "Certified Correct Translation" โดยตราประทับ "รับรองคำแปลถูกต้อง" หรือ "Certified Correct Translation" เป็นเครื่องหมายแสดงถึงการรับรองมาตรฐาน และมาตรฐานของงานแปลที่ผลิตขึ้นด้วยความรู้ ความสามารถ จากหลักวิชาชีพและหลักวิชาการด้านการแปลในระดับสากล พร้อมแนวทางปฏิบัติและจรรยาบรรณวิชาชีพของนักแปลรับรองและผู้รับรองการแปลของสมาคมให้เทียบเท่าสากล โดยตราประทับนักแปลที่รับรองมาตรฐานและคุณภาพงานแปลนั้นจะต้องประกอบไปด้วย ชื่อสมาคมวิชาชีพเป็นภาษาท้องถิ่น ลงเลขเอกสารต้นฉบับจากระบบ SEAProTI ลงเลขเอกสารที่แปลแล้วจากระบบ SEAProTI ลงวันที่ ที่ประทับตรา ลงชื่อผู้ที่แปลเอกสาร ตราประทับจะต้องมีเลขทะเบียนตราประทับ มีคำว่า "Certified Correct Translation" หรือ "รับรองคำแปลถูกต้อง" ชื่อนักวิชาชีพ (ผู้แปล) ระดับของนักแปลรับรอง (ตรวจสอบได้จากฐานข้อมูลของ SEAProTI) คู่ภาษาที่ได้รับอนุญาตให้แปล เลขประจำตัวนักวิชาชีพ วันหมดอำนาจกระทำการแปลและรับรองการแปล และชื่อสมาคมวิชาชีพเป็นภาษาอังกฤษ
และเพื่อการขอให้ตราประทับนักแปลของสมาคมนี้เป็นเครื่องหมายรับรองมาตรฐานการแปลจากกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ อีกทั้งเพื่อให้เอกสารแปลมีผลในเรื่องของการรับรองมาตรฐานการแปลจึงให้ใช้ตราประทับซึ่งเป็นเครื่องหมายรับรองนี้ควบคู่กันไปกับระเบียบการแปลเอกสารทีสมาคมกำหนด ทั้งนี้ หากตราประทับที่เป็นเครื่องหมายรับรองนี้ไม่ใช้ร่วมกับการแปลตามระเบียบของสมาคมให้ถือว่าการแปลนั้นไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานการแปลด้วย
ล่ามรับรอง ของ SEAProTI หรือภาษาอังกฤษใช้ว่า Certified Interpreter มี 3 ระดับ ได้แก่ สามรับรองระดับ 1 (ชื่อย่อว่า ลว.3) ล่ามรับรองระดับ 2 (ชื่อย่อว่า ลว.2) และล่ามรับรองระดับ 3 (ชื่อย่อว่า ลว.3) โดยล่ามรับรองระดับ 1 จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการล่ามที่สมาคมรับรอง และมีคุณสมบัติ ครบถ้วนในการเป็นสมาชิกสมาคม และล่ามรับรองระดับ 2 จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรล่ามที่สมาคมรับรอง และผ่านการสอบและมีผลสอบเป็นไปตามเกณฑ์ที่สมาคมกำหนด และมีคุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นสมาชิกสมาคม และล่ามรับรองระดับ 3 จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรล่ามที่สมาคมรับรอง และผ่านการสอบและมีผลสอบเป็นไปตามเกณฑ์ที่สมาคมกำหนด และมีคุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นสมาชิกสมาคม
คุณวณิชชา สุมานัส นายกสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "นักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรองของสมาคม ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดี มีการคัดเลือกคุณสมบัติตามที่ตลาดต้องการ เช่น ความสามารถด้านภาษาที่ต้องเป็นใบเบิกทางมาก่อน และบุคคลเหล่านี้จะเข้ามาช่วยสนับสนุนธุรกิจของเอกชน และช่วยการันตีคุณภาพเอกสารแปลที่จะส่งไปยังหน่วยงานราชการต่าง ๆ ให้น่าเชื่อถือ ตามหลักวิชาชีพว่าเอกสารดังกล่าวจะแปลตามหลักวิชาชีพ และรับรองการแปลว่าถูกต้อง แปลไม่ตก ไม่เติมคำใด ๆ ที่หนอกเหนือจากต้นฉบับ และไม่เปลี่ยนแปลงความหมายตามเจตนารมณ์ของเอกสารต้นฉบับ"
และเพื่อให้วิชาชีพเหล่านี้มีเกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อให้ทัดเทียมกับแนวทางปฏิบัติในระดับสากล สมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพนักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปลและล่ามรับรอง (ภาคประชาชน) ที่จัดทำโดยสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2567 โดยมีกรรมการผู้ก่อตั้งสมาคม ที่ปรึกษาและสมาชิกกิตติมศักดิ์ นักแปลและล่ามจดทะเบียนของสมาคม และผู้ประกอบการในธุรกิจการแปลและล่าม และผู้แทนจากรัฐสภาร่วมรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพฉบับนี้ด้วย
ท่านไพรัตน์ แสงสีดำ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการด้านแรงงาน จากรัฐสภาไทย กล่าวว่า "ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพฯ นี้มีความสำคัญสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการแปล ผู้รับรองการแปล และล่ามในประเทศไทย และจำเป็นต้องมีเนื่องจากแนวทางปฏิบัติงานมีผลต่อชีวิตความเป็นผู้ของประชาชนเป็นอย่างมาก เช่น ล่ามที่ต้องแปลให้โรงพยาบาล ล่ามที่ต้องแปลในศาล หรือล่ามต้องแปลในสถานีตำรวจ ที่จะต้องแปลให้ถูกต้องแม่นยำตามหลักวิชาชีพ ความหมายจะต้องไม่คลาดเคลื่อนไปจากสาระสำคัและผู้ประกอบวิชาชีพเหล่านี้จำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและไว้วางใจให้กับประชาชนโดยรวม"
ปัจจุบัน สมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ผลิตนักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรองทั้งหมด 20 กว่าท่าน และที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนอีก 200 กว่าท่าน และพร้อมให้บริการประชาชน ทั้งในที่ตั้งตามพื้นที่ต่าง ๆ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ออนไลน์ได้ด้วย เพื่อแก้ปัญหานักวิชาชีพที่กำลังขาดแคลน เนื่องจากนักวิชาชีพเหล่านี้จะอยู่สาขาการแปลและล่ามในงานกฎหมายและการแพทย์ ต้องผ่านการอบรมที่เข้มข้น และการสอบที่เข้มงวด จึงหาคนทำได้ยาก แต่สมาคมก็มั่นใจว่า หากสอบผ่านและได้รับการับรองแล้ว นักวิชาชีพก็จะมีคุณภาพเข้ามาประกอบวิชาชีพตามที่สังคมคาดหวัง
หากท่านต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสัมภาษณ์ผู้บริหารหรือนักวิชาชีพของเราเพิ่มเติม
กรุณาติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ได้ที่ seaproti@gmail.com หรือตามหมายเลขโทรศัพท์ข้างต้น