รอสักครู่...

  • น.
พื้นที่โฆษณา

ข่าวกิจกรรม

ข่าวกิจกรรม - เผยโฉม!! สุดยอดอาหารพื้นถิ่นภาคเหนือ Product Champion สทน.พร้อมลุยต่อพื้นที่อีสาน สร้างการรับรู้เทคโนโลยีฉายรังสี สู่ชุมชน


ชอบข่าวนี้?
พื้นที่โฆษณา
เผยโฉม!! สุดยอดอาหารพื้นถิ่นภาคเหนือ Product Champion สทน.พร้อมลุยต่อพื้นที่อีสาน สร้างการรับรู้เทคโนโลยีฉายรังสี สู่ชุมชน สทน. ประกาศผลพร้อมมอบรางวัล “Product Champion” ในพื้นที่ภาคเหนือ สตรอเบอรี่อบแห้ง จาก ฮานาดะออแกนิคฟาร์ม จ.เชียงใหม่ ควงคู่ แป้งกล้วยไข่ จ.กำแพงเพชร คว้ารางวัลชนะเลิศ !! พร้อมเตรียมทีมนักวิจัยลงพื้นที่ต่อที่อีสาน เพื่อสร้างการรับรู้ประโยชน์จากการฉายรังสีในอาหาร เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นต่อไป รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. เปิดเผยว่า หลังจากที่ สทน. ได้เปิดรับสมัครผลิตภัณฑ์“อาหารพื้นถิ่น” ในพื้นที่ภาคเหนือเข้าร่วมประกวดโครงการ “Product Champion” ขณะนี้ ได้สรุปผลตัดสินทั้ง 3 จุดดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจุดดำเนินการที่ 1 มรภ.เชียงราย รางวัลชนะเลิศ และรางวัลรองชนะเลิศ ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดถึงเกณฑ์ที่ได้รับรางวัล ส่วนรางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ แยมสามสหายล้านนา จากห้างหุ้นส่วนจำกัด บ้านไม้หอม โฮม แอนด์ ฟาร์ม จ.เชียงราย และผลิตภัณฑ์ ข้าวเหนียวเขี้ยวงู จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรแปรรูปข้าวปลอดภัยแบบยั่งยืนแม่จัน จ.เชียงราย จุดดำเนินการที่ 2 มรภ.เชียงใหม่ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สตรอเบอรี่อบแห้ง จาก ฮานาดะออแกนิคฟาร์ม จ.เชียงใหม่ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ น้ำพริกข่า จาก น้ำพริกข่า ยายบัวจันทร์ จ.เชียงใหม่ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ลูกอมขิง Bigmatch จาก หจก.ธิติพูนผล จ.เชียงใหม่ จุดดำเนินการที่ 3 มรภ.กำแพงเพชร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ แป้งกล้วยไข่ จาก คุณอัญชลีพร แสงเอี่ยม จ.กำแพงเพชร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ชาเกสรกล้วยไข่ ชาหัวปลีกล้วยไข่ จาก คุณสุกัญญา จันทะเกตุ จ.กำแพงเพชร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ น้ำพริกน้ำย้อยไข่เค็ม จาก คุณณัฐกานต์ พงษ์สุวรรณ จ.กำแพงเพชร สำหรับผู้ชนะเลิศในแต่ละจุดดำเนินการจะได้รับเงินรางวัล มูลค่า 10,000 บาท ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2 รวมถึงรางวัลชมเชย จะได้รับโล่และใบประกาศฯจาก สทน. โดยการประกวด “Product Champion” ภาคเหนือ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่พฤศจิกายน 2565 มีผู้สมัครและส่งผลิตภัณฑ์เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 131 ผลิตภัณฑ์ โดยมีเกณฑ์พิจารณาที่สำคัญ คือ เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ชุมชน และสามารถใช้รังสีในการยกระดับคุณภาพหรือมูลค่า เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้ สทน. ยังได้เตรียมนำเทคโนโลยีการฉายรังสี ไปถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการชุมชน “อาหารพื้นถิ่น” ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลำดับถัดไป

"ข่าวประชาสัมพันธ์ ทันทุกกระแส" กับ @PRNewsThailand

เพิ่มเพื่อน
พื้นที่โฆษณา

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่โฆษณา
พื้นที่โฆษณา